0

การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการศึกษา

การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการศึกษา

edu

เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วีดิโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)  มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียน
การสอนก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค วีดิโอเทเลคอนเฟอเรนซ์   ระบบวีดิโอออนดีมานด์   การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ต
เป็นต้น

  1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

          คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการนำเอาเทคโนโลยีรวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอนมาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน ซีเอไอ ย่อมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Computer-Assisted Instruction หรือเรียกย่อๆ ว่า ซีเอไอ (CAI) การจัดโปรแกรมการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) หมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว  ฯลฯ  โปรแกรม ช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง  และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง  และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้น ๆ

1.1 ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่นำมาใช้ในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายรูปแบบ นักวิชาการและนักการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้จัดแบ่งประเภทตามลักษณะการใช้ดังนี้

  1. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการสอน (Tutoring) เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นในลักษณะของบทเรียนที่ลอกเลียนแบบการสอนของครู กล่าวคือ มีบทนำ มีคำบรรยาย ซึ่งประกอบด้วยทฤษฎี กฎเกณฑ์ แนวคิดที่สอนหลังจากที่นักเรียนได้ศึกษาแล้วก็มีคำถาม เพื่อใช้ในการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน ตลอดจนมีการเสริมแรงและสามารถให้นักเรียนย้อนกลับไปเรียนบทเรียนเดิมได้  หรือข้ามบทเรียนที่ได้เรียนรู้แล้วได้
  2. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการฝึก (Drill and Practice) แบบฝึกส่วนใหญ่ใช้เพื่อเสริมทักษะ เมื่อครู
    ได้สอนบทเรียนบางอย่างไปแล้ว จุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดกับคอมพิวเตอร์เพื่อวัดระดับ  จึงประกอบด้วยคำถามและคำตอบ สิ่งสำคัญของการฝึก  คือ  ต้องกระตุ้นให้นักเรียนอยากทำ และตื่นเต้นกับการทำแบบฝึกหัดนั้น ซึ่งอาจมีภาพเคลื่อนไหว คำพูดโต้ตอบ มีการแข่งขัน – จับเวลา หรือสร้างรูปแบบที่ท้าทายความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหา
  3. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation)  เป็นโปรแกรมที่ใช้จำลองสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์ในชีวิตจริงของนักเรียน  โดยมีเหตุการณ์สมมติต่าง ๆ หรือจัดกระทำได้สามารถมีการโต้ตอบ สร้างสถานการณ์จำลองขึ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้   เมื่อสถานการณ์จริงไม่สามารถทำได้ เช่น การเคลื่อนที่ของลูกปืน การเดินทางของแสง  การหักเหของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือการทำปฏิกิริยาทางเคมี  ดังนั้น  การใช้คอมพิวเตอร์ สร้างสถานการณ์จำลองจึงมีความจำเป็นอย่างมาก
  4. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อเป็นเกมในการเรียนการสอน โปรแกรมประเภทนี้นับเป็นแบบพิเศษของแบบจำลองสถานการณ์  โดยมีการแข่งขันเป็นหลัก  ซึ่งสามารถเล่นได้คนเดียวหรือหลายคน  ก่อให้เกิดการแข่งขันและร่วมมือกัน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้มากโดยการเพิ่มคุณค่าทางการศึกษาจุดมุ่งหมาย เนื้อหา และกระบวนการที่เหมาะสม
  5. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการทดสอบ (Testing) เป็นโปรแกรมที่ใช้รวมแบบทดสอบไว้และสุ่มข้อสอบตามจำนวนที่ต้องการ โดยที่ข้อสอบเหล่านั้น ผ่านการสร้างมาอย่างดีมีความเชื่อถือได้ในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โปรแกรมมีการตรวจข้อสอบให้คะแนน วิเคราะห์ และประเมินผลให้ผู้สอบได้ทราบทันที
  6. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการไต่ถามข้อมูล (Inquiry) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาข้อเท็จจริงหรือข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ในตัวคอมพิวเตอร์แบบนี้จะมีแหล่งเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์  ซึ่งสามารถแสดงได้ทันทีเมื่อผู้เรียนต้องการ  นอกจากนั้นยังนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในลักษณะอื่น ๆ เช่น การนำเสนอประกอบการสอน   การใช้เพื่อฝึกแก้ปัญหาการสาธิต เป็นต้น

81257

1.2 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการสอนมีประโยชน์หลายประการดังนี้
1. ทำให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนมากขึ้น
2. ทำให้นักเรียนสามารถเลือกเรียนได้หลายแบบตามความถนัดของแต่ละบุคคล
3. ทำให้ใช้สมองในการคิดวิเคราะห์ และตัดสินใจ

  1. ทำให้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
  2. ทำให้ผู้เรียนมีอิสระภาพในการเรียน  สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาที่ต้องการ
  3. ทำให้ผู้เรียนสามารถสรุปหลักการ เนื้อหา สาระของบทเรียนแต่ละบทเรียนได้

การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก

เป็นการจัดการเรียนที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอนเป็นเทคโนโลยีสูงสุดมาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้จากการสืบค้นข้อมูล  และเชื่อมโยงเครือข่ายทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา

2.1 ความหมายของการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก

      การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลักเป็นการประยุกต์ใช้ยุทธวิธีการสอนด้านพุทธพิสัย (Cognitive) ภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเรียนที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ และการเรียนแบบร่วมมือกัน (Collaborative Learning) เนื่องจากการเรียนแบบนี้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการเรียนด้วยตนเอง เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Center) และเรียนด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  (Learner Interaction)

2.3 ประเภทของสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก

  1. World Wide Wed
  2. E-mail
  3. Chat
  4. Webbord
  5. ICQ
  6. Conference

2.3 ประโยชน์ของการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก

  1. ช่วยเปิดโลกกว้างทางการศึกษา แหล่งความรู้วิทยาการต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก
  2. ฝึกทักษะการคิดที่เป็นระบบ โดยเฉพาะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การแก้ปัญหา และ
    การคิดอิสระ
  3. ขยายขอบข่ายการเรียนรู้ในห้องเรียนขยายออกไป เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถสำรวจข้อมูล
    ตามความสนใจของผู้เรียน
  4. ทำให้นักเรียนได้มีโอกาสศึกษาโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ บนคอมพิวเตอร์และบนเครือข่าย
    ต่าง ๆ ได้พร้อม ๆ กับการเรียน
  5. มัลติมีเดีย

การใช้มัลติมีเดีย คือการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมาย  โดยการ ผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ สีสัน ภาพกราฟิก ภาพเครื่องไหว เสียง และภาพยนตร์วีดิทัศน์ ระบบนี้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด เมาส์ หรือตัวชี้  เป็นต้น

3.1 ประโยชน์ของมัลติมีเดีย

มัลติมีเดียได้นำมาใช้ในการฝึกอบรม การทหาร และอุตสาหกรรม และยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญ
ทางการศึกษา ทั้งนี้เพราะว่าเทคโนโลยีมัลติมีเดียสามารถที่จะนำเสนอได้ทั้งเสียง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว ดนตรี กราฟิก ภาพถ่าย วัสดุตีพิมพ์ และภาพยนตร์ วีดิทัศน์ และสามารถที่จะจำลองภาพการเรียนการสอน โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้โดยตรง จุดเด่นของการใช้มัลติมีเดียเพื่อการศึกษามีดังนี้

  1. ส่งเสริมการเรียนด้วยตนเองแบบเชิงรุก กับแบบสื่อนำเสนอการสอนแบบเชิงรับ
  2. สามารถเป็นแบบจำลองการนำเสนอ หรือตัวอย่างที่เป็นแบบฝึก และสอนที่ไม่มีแบบฝึก
  3. มีภาพประกอบ และมีปฏิสัมพันธ์
  4. เป็นสื่อที่สามารถพัฒนาเพื่อช่วยการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีศักยภาพ
  5. ยอมให้ผู้ใช้ควบคุมได้ด้วยตนเอง และมีระบบหลายแนวทางในการเข้าถึงข้อมูล
  6. สร้างแรงจูงใจและมีหลายรูปแบบการเรียน
  7. จัดการด้านเวลาในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.2 การใช้มัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน

การใช้มัลติมีเดียก็เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเรียนและสนองต่อรูปแบบของการเรียนของนักเรียน
ที่แตกต่างกัน การจำลองสภาพการณ์ของวิชาต่าง ๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่นำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนการลงมือปฏิบัติจริง  โดยสามารถที่จะทบทวนขั้นตอน  และกระบวนการได้เป็นอย่างดี นักเรียนอาจเรียนหรือฝึกซ้ำได้ และใช้มัลติมีเดียในการฝึกภาษาต่างประเทศ โดยเน้นเรื่องของการออกเสียงและฝึกพูด ให้โอกาสผู้ใช้บทเรียนได้ทดลองฝึกปฏิบัติในสิ่งที่ได้เรียนในห้องเรียน และช่วยเปลี่ยนผู้ใช้บทเรียนจากสภาพการเรียนรู้ในเชิงรับ มาเป็นเชิงรุก

3.3 องค์ประกอบของมัลติมีเดีย

ระบบมัลติมีเดียที่ใช้กับคอมพิวเตอร์เป็นระบบที่เน้นการโต้ตอบกับผู้เรียน กล่าวคือ  เมื่อคอมพิวเตอร์นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ผู้ใช้สามารถโต้ตอบในลักษณะเวลาจริง  การโต้ตอบจึงทำให้รูปแบบของการใช้งานมีความเหมาะสม  และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้มากขึ้น

มัลติมีเดียสามารถสร้างขึ้นจากโปรแกรมประยุกต์หลาย ๆ โปรแกรมแต่อย่างใดก็ตาม จะต้องประกอบด้วย 2 สื่อ หรือมากกว่าตามองค์ประกอบดังนี้  คือ ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว
การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์ และภาพยนตร์  วีดิทัศน์

  1. อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค

พัฒนาการอีกด้านหนึ่งคือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม ซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้น  ซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอมได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนีสืบค้น หรือสารบัญเรื่อง  ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค  ซีดีรอมมีข้อดี  คือสามารถจัดเก็บข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย

ในการประยุกต์อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค  ในทางการศึกษามักใช้เพื่อเป็นสื่อแทนหนังสือ หรือตำรา หรือใช้เพื่อเป็นสื่อเสริมการเรียนด้วยตนเอง  ผู้เรียนนำแผ่นซีดีที่บรรจุข้อมูลหนังสือทั้งเล่มมาอ่านด้วยคอมพิวเตอร์ และเมื่อต้องการข้อมูลส่วนใดก็สามารถคัดลอกและอ้างอิงนำมาใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องจัดพิมพ์ใหม่

  1. ระบบการเรียนการสอนทางไกล

การศึกษาเน้นระบบการกระจายการศึกษา   การเรียนการสอนทางไกลเป็นช่องทางหนึ่งที่ใช้เพื่อกระจายการศึกษา  ระบบการกระจายการศึกษาที่ได้ผลในปัจจุบัน และเข้าถึงมวลชนจำนวนมาก ย่อมต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วย ทำให้ครอบคลุมพื้นที่การรับได้กว้างขวาง  เพราะไม่ติดขัดสภาพทางภูมิประเทศที่มีภูเขาขวางกั้น ดังนั้น การใช้ระบบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนทางไกล เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษา  การเรียนการสอนทางไกลโดยใช้ระบบโทรทัศน์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
มีข้อจำกัดคือ เป็นการสื่อสารทางเดียว (One-way) ทำให้ผู้เรียนได้รับข่าวสารข้อมูลเสียงด้านเดียวไม่สามารถซักถามปัญหาต่าง ๆ ได้จึงมีระบบกระจายสัญญาณในรูปของสาย (Cable) โดยใช้เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ในการสื่อสารเหมือนสายโทรศัพท์ แต่มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลได้มากกว่าสายโทรศัพท์ธรรมดา และส่งกระจายสัญญาณไปตามบ้านเรือนต่างๆ ก่อให้เกิดระบบวีดิโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ขึ้น  ระบบดังกล่าวนี้เป็นระบบโต้ตอบสองทาง (Two-way) กล่าวคือ ทางฝ่ายผู้เรียนสามารถเห็นผู้สอน  และผู้สอนก็เห็นผู้เรียนถึงแม้จะอยู่ห่างไกลกัน ทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจาตอบโต้กันเห็นภาพกันเสมือนนั่งอยู่ในห้องเดียวกัน ระบบวีดิโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  จึงเป็นระบบหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาทางไกลเป็นอย่างมาก

5.1 ความหมาย

การเรียนการสอนทางไกล หมายถึง การเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน  ใช้วิธีการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ และประสบการณ์โดยอาศัยสื่อประสมในหลายรูปแบบ ได้แก่ สื่อที่เป็นหนังสือ สื่อทางไปรษณีย์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ การประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง (Video Conference) อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ช่วยให้ผู้เรียนที่อยู่ต่างถิ่นต่างที่กันสามารถศึกษาความรู้ได้

5.2 องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนทางไกล

องค์ประกอบที่สำคัญของระบบการเรียนการสอนทางไกล มีดังนี้

  1. ผู้สอนเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้สอนมีอิสระในการกำหนด เวลา สถานที่ และวิธีเรียน
    โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ
  2. ผู้สอนเน้นการสอนโดยใช้การสื่อสารทางไกลแบบ 2 ทาง และอาศัยสื่อหลากหลายชนิด ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนได้ด้วยตนเองหรือเรียนเสริมภายหลังได้
  3. ระบบบริหารและการจัดการ จัดโครงสร้างอื่น ๆ เพื่อเสริมการสอน เช่น  การจัดศูนย์
    วิทยบริการ จัดระบบอาจารย์ที่ปรึกษาระบบการผลิตสื่อ และจัดส่งสื่อให้ผู้เรียนโดยตรง เป็นต้น
  4. การควบคุมคุณภาพ จัดทำอย่างเป็นระบบและดำเนินการต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยเน้น
    การควบคุมคุณภาพในด้านขององค์ประกอบของการสอน
  5. การติดต่อระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และสถาบันการศึกษาเป็นการติดต่อแบบ 2 ทาง โดยใช้โทรทัศน์ โทรสาร ไปรษณีย์อีเล็กทรอนิกส์  เป็นต้น
  6. วีดิโอเทเลคอนเฟอเรนซ์

วีดิโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึง การประชุมทางจอภาพโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยเป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคลหรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่และห่างไกลคนละซีกโลก ด้วยสื่อทางด้านมัลติมีเดียที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษรในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ  ด้านการศึกษาวีดิโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียงของครู สามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของครูในขณะเรียน

6.1 องค์ประกอบพื้นฐานของวีดิโอคอนเฟอเรนซ์

องค์ประกอบพื้นฐานของวีดิโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. เครือข่ายโทรคมนาคม มีหน้าที่เชื่อมสัญญาณจากผู้ร่วมประชุมแต่ละฝ่ายเข้าด้วยกันเพื่อการ

ประชุม

  1. อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Terminal) เป็นอุปกรณ์ด้านทางและปลายทาง ทำหน้าที่รับและถ่ายทอดภาพและเสียงได้แก่ จอโทรทัศน์ เครื่องฉายภาพนิ่ง กล้องวิดีทัศน์ ไมโครโฟน เป็นต้น

ระบบวีดิโอออนดีมานด์

วีดิโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่น  และสหรัฐอเมริกา   โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวีดิทัศน์ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ  (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา  วีดิโอออนดีมานด์เป็นระบบที่มีศูนย์กลางการเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก  โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใดก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวีดิโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้

การใช้งานวีดิโอออนดีมานด์ จะให้ความสะดวกต่อผู้ใช้มากกว่าระบบวีดิโอทั่วๆ ไป ซึ่งส่งสัญญาณออกมาชุดเดียว (1 stream) สำหรับผู้ใช้ทุกคนแต่ละคนได้ดูภาพสัญญาณเดียวกัน รายการต่างๆ จะมีเวลาตายตัวตามที่กำหนดไว้ ผู้ใช้ต้องรอเวลาเพื่อที่จะได้ดูรายการที่ต้องการส่วนวีดิโอออนดีมานด์ ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเลือกดูรายการที่ตนเองสนใจเวลาใดก็ได้ไม่ขึ้นกับผู้อื่น และไม่ต้องการรอตารางเวลา แต่ก็ต้องใช้ความเร็วของเครือข่ายสื่อสารมาก เนื่องจากต้องส่งสัญญาณวีดิโอแยกสำหรับผู้ใช้แต่ละคน (1 stream ต่อ 1 คน) ดังนั้นเครือข่ายสื่อสารจึงต้องมีความเร็วสูงมาก สามารถนำระบบวีดิโอออนดีมานด์มาใช้เพื่อการศึกษาได้เป็นอย่างดี เช่น นำมาใช้เพื่อการเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) โดยนักเรียนสามารถลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง และเมื่อต้องการเรียนโดยเลือกบทเรียนจากวีดิทัศน์ที่เก็บอยู่ในวีดิโอเซอร์ฟเวอร์ ทำให้นักเรียนสามารถเรียนและทบทวนบทเรียนได้ทุกเวลาตามความต้องการด้วยตนเอง

  1. อินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีรากฐานความเป็นมาโดยการสนับสนุนของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาที่มีความประสงค์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ จึงสนับสนุน
ทุนวิจัยให้มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกาทำการวิจัยเชื่อมโยงเครือข่ายขึ้น และให้ชื่อว่า APRANET ต่อมาเครือข่ายนี้ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วมีคนนิยมใช้กันมากยิ่งขึ้นจึงใช้ชื่อเครือข่ายใหม่ว่าอินเตอร์เน็ต เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยและขยายตัวรวดเร็วออกไปสู่หน่วยงานต่างๆ
ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนในหลายประเทศ   จึงมีอัตราการขยายตัวของผู้ใช้สูงและครอบคลุมทุกแห่งทั่วโลก จึงทำให้อินเตอร์เน็ตมีบทบาทต่อการศึกษาดังนี้

  1. การใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคล บนอินเตอร์เน็ตมีอิเล็กทรอนิกส์เมล์หรือเรียกย่อ ๆ ว่า อีเมล์
    (E-mail) เป็นระบบที่ทำให้การสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ละบุคคลจะมีตู้จดหมายเป็นของตัวเองสามารถส่งข้อความถึงกันผ่านในระบบนี้ โดยส่งไปยังตู้จดหมายของกันและกันนอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ไปใช้ทางการศึกษาได้
  2. ระบบข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตมีลักษณะเหมือนกระดานข่าวที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทุกคนสามารถเปิดกระดานข่าวที่ตนเองสนใจ หรือสามารถส่งข่าวสารผ่านกลุ่มข่าวบนกระดานนี้เพื่อโต้ตอบข่าวสารกันได้
  3. การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกัน และติดต่อกับห้องสมุดทั่วโลกทำให้การค้นหาข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ หมายถึงสามารถค้นหาและได้มาซึ่งข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้น โดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ตจะมีคำหลัก (Index) ไว้ให้สำหรับการสืบค้นที่รวดเร็ว
  4. ฐานข้อมูลเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Wed) เป็นฐานข้อมูลแบบเอกสาร (Hypertext) และแบบมีรูปภาพ (Hypermedia) จนมาปัจจุบันฐานข้อมูลเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นจนเป็นแบบมัลติมีเดีย(Multimedia) ซึ่งมีทั้งข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์ และเสียง ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสืบค้นกันได้ทั่วโลก
  5. การพูดคุยแบบโต้ตอบหรือคุยเป็นกลุ่ม บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันและพูดคุยกันได้ด้วยเวลาจริง ผู้พูดสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนเครือข่าย เช่น ฝ่ายหนึ่งอาจอยู่ต่างประเทศอีกฝ่ายหนึ่งอยู่ในที่ห่างไกลก็พูดคุยกันได้ และยังสามารถพูดคุยกันเป็นกลุ่มได้
  6. การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันแบบ FTP (Files Transfer Protocol) คือสามารถที่จะโอนย้ายถ่ายเทข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมากๆ ได้ โดยส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้สะดวกต่อการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งกันและกันโดยไม่ต้องเดินทางและข่าวสารถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
  7. การใช้ทรัพยากรที่ห่างไกลกัน ผู้เรียนอาจเรียนอยู่ที่บ้านและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยได้ และยังสามารถขอใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในต่างมาวิทยาลัยได้

 

https://meteepigulthong.wikispaces.com

บรรณนานุกรม

  • กมลวรรณ พานทอง. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก …… สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 255

https://sites.google.com/site/krunoptechno/kar-prayukt/kar-prayukt-dan-kar-suksa

Nopphadol Kaewwiset

26 กรกฎาคม 2555จาก http://gilfkaevarity.wordpress.com

ที่มา ยืน ภู่วรวรรณ และ สมชาย นำประเสริฐชัย ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย กรุงเทพฯ : หจก.เม็ตทรยพริ้งติ้ง, 2546.

พิพัฒนพงศ์ พลเยี่ยม  http://www.krootom101.com/file/Content32.html

http://social.obec.go.th/node/28

 

0

สื่อการเรียนการสอนประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

สื่อการเรียนการสอนประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

ดาวน์โหลด (3)

ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคาที่เกี่ยวกับ“สื่อสิ่งพิมพ์”ไว้ว่า “สิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน” “สื่อ หมายถึง ก. ทาการติดต่อให้ถึงกัน ชักนาให้รู้จักกัน น. ผู้หรือสิ่งที่ทาการติดต่อให้ถึงกัน หรือชักนาให้รู้จักกัน” “พิมพ์ หมายถึง ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพ เป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่น แผ่นกระดาษ ผ้า ทาให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใด อันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสาเนา น. รูป , รูปร่าง, ร่างกาย, แบบ” ดังนั้น “สื่อสิ่งพิมพ์” จึงมีความหมายว่า “สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสาเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทาการติดต่อ หรือชักนาให้บุคคลอื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความต่าง ๆ”

สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา หมายถึง สิ่งที่พิมพ์ขึ้นในรูปแบบต่างๆ ทั้งหนังสือ ตารา เอกสาร วารสารต่างๆ ที่ให้ความรู้ เนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ เช่น หนังสือเรียนภาษาไทย ป. 6 หรืออาจเป็นชุดภาพประกอบการศึกษา เช่น ภาพประกอบการศึกษาชุดอาหารไทย เป็นต้น และสามารถนามาใช้ในการศึกษาได้

900_print

ความเป็นมา

สิ่งพิมพ์ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ความสำคัญยิ่งควบคู่มากับการพัฒนาการของมนุษยชาติ และจัดเป็นสื่อมวลชนประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญมาตลอดนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการถ่ายทอดความรู้วิชาการ และเพื่อการติดต่อ สื่อสารสาหรับมนุษยชาติ ดังคำจำกัดความของพจนี พลสิทธิ์ (2536 : 3) สรุปความเป็นมาและความสาคัญของ สิ่งพิมพ์ ว่า “สิ่งพิมพ์” นับเป็นวัสดุที่แสดงถึงพัฒนา การความเจริญก้าวหน้าทางด้านสติปัญญา ของมนุษย์ ความคิด จินตนาการ เจตคติ ความฝัน ชีวิต วัฒนธรรม สังคม เหตุการณ์ เรื่องราวต่าง ๆ ของมนุษย์แต่ลายุคสมัย สามารถเก็บรักษาสืบทอดจาดชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนรุ่นหลัง ความคิดในเรื่องการพิมพ์นี้นอกเหนือจาก เพื่อเป็นเครื่องมือในการบันทึกความคิด จินตนาการ ความรู้ และเหตุการณ์ต่างๆ แล้วยังเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าชนชาติต่าง ๆ ในโลกนี้ล้วนมีความพยายามที่จะพัฒนาความคิดของตนให้เจริญก้าวหน้าทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ความคิดในเรื่องการพิมพ์ที่มีจุดประสงค์เริ่มแรกก็คงเพื่อให้มีการแพร่หลายเรื่องความคิด ความรู้ ไปสู่ชนรุ่นหลัง และเพื่อให้มีหลาย ๆ สาเนาจะได้เก็บรักษาให้คงอยู่ได้นานปีนั้น ในยุคปัจจุบันชนรุ่นหลังได้สานต่อความคิดเรื่องการพิมพ์จนกระทั่งกลายเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย และซับซ้อน สามารถผลิตสิ่งพิมพ์ได้หลากหลายชนิดตอบสนองวัตถุประสงค์ของมนุษยชาติได้กว้างขวางนอกเหนือจากสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นสื่อมวลชนที่มีความเกี่ยวกันกับมนุษยชาติมานานนับพัน ๆ ปี และมีความเก่าแก่กว่าสื่อมวลชนประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรืออินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่มีการใช้แพร่หลายไปทั่วโลกเช่นในปัจจุบันก็ตาม แต่สื่อสิ่งพิมพ์ก็ยังเป็นสื่อที่มีการใช้อย่างแพร่หลายเป็นที่นิยมของทุกชนชาติมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทใดก็ตาม เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร วารสาร หรือสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ สาเหตุสาคัญที่ทาให้สื่อสิ่งพิมพ์ยังเป็นที่นิยมแพร่หลายมาโดยตลอด ก็เพราะบุคคลสามารถเลือกอ่านได้ตามความเหมาะสม อีกทั้งยังใช้เป็นเอกสารอ้างอิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มแต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางศาสนา คริสต์ขึ้น และหลังจากนั้นหมอบรัดเลย์เข้ามาเมืองไทย และได้เริ่มด้านงานพิมพ์จนสนใจเป็นธุรกิจด้านการพิมพ์ ในเมืองไทย พ.ศ.2382 ได้พิมพ์เอกสารทางราชการเป็นชิ้นแรก คือ หมายประกาศห้ามสูบฝิ่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้างพิมพ์จานวน 9,000 ฉบับ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ก.ค.2387 ได้ออกหนังสือฉบับแรกขึ้น คือ บางกอกรีคอร์ดเดอร์ (Bangkok Recorder) เป็นจดหมายเหตุอย่างสั้น ออกเดือนละ 2 ฉบับ และใน 15 มิ.ย. พ.ศ.2404 ได้พิมพ์หนังสือเล่มออกจำหน่ายโดยซื้อลิขสิทธิ์จาก หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัยและได้เริ่มต้นการซื้อขาย ลิขสิทธิหน่ายในเมืองไทย หมอบรัดเลย์ได้ถึงแก่กรรมในเมืองไทยกิจการ การพิมพ์ของไทยจึงเริ่มต้นเป็นของไทย หลังจากนั้นใน พ.ศ.2500 ประเทศไทยจึงนา เครื่องพิมพ์แบบโรตารี ออฟเซท (Rotary off Set) มาใช้เป็นครั้งแรก โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชนาเครื่องหล่อเรียงพิมพ์ Monotype มาใช้กับตัวพิมพ์ภาษาไทย ธนาคาร แห่งประเทศไทยได้จัดโรงพิมพ์ธนบัตรในเมืองไทยขึ้นใช้เอง

ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ

  1. หนังสือตำรา

เป็นสื่อที่พิมพ์เป็นเล่ม ประกอบด้วยเนื้อหาการเรียนการสอนโดยอธิบายเนื้อหาวิชาอย่างละเอียดชัดเจน อาจมีภาพถ่ายหรือภาพเขียนประกอบเพื่อเพิ่มความสนใจของผู้เรียน หนังสือตารานี้อาจใช้เป็นสื่อการเรียนในวิชานั้นโดยตรงนอกเหนือจากการบรรยายในชั้นเรียน หรืออาจใช้เป็นหนังสืออ่านประกอบหรือหนังสืออ่านเพิ่มเติมก็ได้ การใช้หนังสือในการเรียนการสอนนับว่ามีประโยชน์แก่ผู้เรียนทั้งในด้านการศึกษารายบุคคลเพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้อ่านในเวลาที่ต้องการ และในด้านเศรษฐกิจเนื่องจากสามารถใช้อ่านได้หลายคนและเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน

  1. แบบฝึกปฏิบัติ

เป็นสมุดหรือหนังสือที่พิมพ์ขึ้นโดยมีเนื้อหาเป็นแบบฝึกหัดหรือแบบฝึกปฏิบัติเพื่อเป็นการเพิ่มทักษะหรือทดสอบผู้เรียน อาจมีเนื้อหาในรูปแบบคาถามให้เลือกคาตอบ หรือเป็นต้นแบบเพื่อให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติตามโดยอาจมีรูปประกอบเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น แบบคัดตัวอักษร ก ไก่ เป็นต้น

  1. พจนานุกรม

เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเป็นคาศัพท์และคาอธิบายความหมายของคาศัพท์ แต่ละคานั้น โดยการเรียงตามลาดับจากอักษรตัวแจกถึงตัวสุดท้ายของภาษาที่ต้องการจะอธิบาย คาศัพท์และคาอธิบายจะเป็นภาษาเดียวกันหรือต่างภาษาก็ได้ เช่น คาศัพท์ภาษาอังกฤษและมีคาอธิบายเป็นภาษาไทย หรือทั้งคาศัพท์และคาอธิบายต่างก็เป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น

  1. สารานุกรม

เป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นเพื่ออธิบายหัวข้อหรือข้อความต่างๆ ตามลาดับของตัวอักษร เพื่อให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าเพื่อความรู้และการอ้างอิง โดยมีรูปภาพ แผนภูมิ ฯลฯ ประกอบคาอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

  1. หนังสือภาพและภาพชุดต่างๆ

เป็นหนังสือที่ประกอบด้วยภาพต่างๆ ที่เป็นเรื่องเดียวกันตลอดทั้งเล่ม ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือภาพที่พิมพ์สอดสีสวยงาม เหมาะแก่การเก็บไว้ศึกษาหรือเป็นที่ระลึก เช่น หนังสือภาพชุดพระที่นั่งวิมานเมฆ หรือหนังสือภาพชุดทัศนียภาพของประเทศต่างๆ เป็นต้น

  1. วิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย

เป็นสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจานวนไม่มากนักเพื่อเผยแพร่ไปยังห้องสมุด สถาบันการศึกษาต่างๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น เพื่อให้ผู้สนใจใช้เป็นเอกสารค้นคว้าข้อมูลหรือใช้ในการอ้างอิง

  1. สิ่งพิมพ์ย่อส่วน (Microforms)

หนังสือที่เก่าหรือชารุดหรือหนังสือพิมพ์ที่มีอยู่เป็นจานวนมากย่อมไม่เป็นที่สะดวกในการเก็บรักษาไว้ จึงจำเป็นต้องหาวิธีเก็บสิ่งพิมพ์เหล่านี้ไว้โดยอาศัยลักษณะการย่อส่วนลงให้เหลือเล็กที่สุดเท่าที่จะทาได้ เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการเก็บรักษาและสามารถที่จะนำมาใช้ได้สะดวก จึงมีวิธีการต่างๆ โดยอาศัยเนื้อที่ในการเก็บรักษาและสามารถที่จะนามาใช้ได้สะดวก จึงมีวิธีการต่างๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีในการทาสิ่งพิมพ์ย่อส่วน ได้แก่

ก. ไมโครฟิล์ม (Microfilm)

เป็นการถ่ายหนังสือแต่ละหน้าลงบนม้วนฟิล์มที่มีความกว้างขนาด 16 หรือ 35 มิลลิเมตร โดยฟิล์ม 1 เฟรมจะบรรจุหน้าหนังสือได้ 1-2 หน้าเรียงติดต่อกันไป หนังสือเล่มหนึ่งจะสามารถบันทึกลงบนไมโครฟิล์มโดยใช้ความยาวของฟิล์มเพียง 2-3 ฟุต ตามปกติจะใช้ฟิล์ม 1 ม้วนต่อหนังสือ 1 เล่ม และบรรจุม้วนฟิล์มลงในกล่องเล็กๆ กล่องละม้วนเมื่อจะใช้อ่านก็ใส่ฟิล์มเข้าในเครื่องอ่านที่มีจอภาพหรือจะอัดสาเนาหน้าใดก็ได้เช่นกัน

 

ข. ไมโครฟิช (Microfiche)

เป็นแผ่นฟิล์มแข็งขนาด 4 x 6 นิ้ว สามารถบันทึกข้อความจากหนังสือโดยย่อเป็นกรอบเล็กๆ หลายๆ กรอบ แผ่นฟิล์มนี้จะมีเนื้อที่มากพอที่จะบรรจุหน้าหนังสือที่ย่อขนาดแล้วได้หลายร้อยหน้า ตัวอักษรที่ย่อจะมีสีขาวบนพื้นหน้าหนังสือสีดา สามารถอ่านได้โดยวางแผ่นฟิล์มลงบนเครื่องฉายที่ขยายภาพให้ไปปรากฏบนจอภาพสาหรับอ่านและจะอ่านหน้าใดก็ได้เลื่อนภาพไปมา และยังสามารถนาไปพิมพ์บนกระดาษและอัดสาเนาได้ด้วย

 

สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร

– หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนาเสนอเรื่องราว ข่าวสารภาพและความคิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ ที่ใช้วิธีการพับรวมกัน ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งลักษณะ หนังสือพิมพ์รายวัน, รายสัปดาห์ และรายเดือน

– วารสาร, นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนาเสนอสาระ ข่าว ความบันเทิง ที่มีรูปแบบการนาเสนอ ที่โดดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน ทั้งนี้การผลิตนั้น มีการ กาหนดระยะเวลาการออกเผยแพร่ที่แน่นอน ทั้งลักษณะวารสาร, นิตยสารรายปักษ์ (15 วัน) และ รายเดือน

– จุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกาไร เป็นแบบให้เปล่าโดยให้ผู้อ่านได้ศึกษาหาความรู้ มีกาหนดการออกเผยแพร่เป็นครั้ง ๆ หรือลาดับต่าง ๆ ในวาระพิเศษ แสดงเนื้อหาเป็นข้อความที่ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจง่าย

สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์

เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ Document Formats, E-book for Palm/PDA เป็นต้น

บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา

บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในสถานศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ถูกนาไปใช้ในสถานศึกษาโดยทั่วไป ซึ่งทาให้ผู้เรียน ผู้สอนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เช่น หนังสือ ตารา แบบเรียน แบบฝึกหัดสามารถพัฒนาได้เป็นเนื้อหาในระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้

แนวทางการประยุกต์ใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน หรือการศึกษา การใช้สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาในการเรียนการสอนนั้นจำแนกได้เป็น 3 วิธี คือ

  1. ใช้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับวิชาที่เรียน
  2. ใช้เป็นวัสดุการเรียนร่วมกับสื่ออื่นๆ
  3. ใช้เป็นสื่อเสริมในการเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์

.จากวิธีการใช้สิ่งพิมพ์ทั้ง 3 วิธีนั้น ผู้สอนสามารถนาสิ่งพิมพ์ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ทั่วไป หรือสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะมาใช้ในการเรียนการสอนก็ได้ ทั้งนี้โดยพิจารณาตามลักษณะของสิ่งพิมพ์และลักษณะของการใช้ ดังนี้

  1. สิ่งพิมพ์ที่เขียนขึ้นในลักษณะของหนังสือตารา ใช้เพื่อการศึกษาในระบบโรงเรียนตามหลักสูตร
  2. สิ่งพิมพ์ที่เขียนขึ้นในลักษณะบทเรียนสาเร็จรูปเพื่อง่ายต่อการศึกษาด้วยตนเอง เหมาะสาหรับใช้ในการศึกษาทางไกลร่วมกับสื่ออื่นๆ เช่น โทรทัศน์ เทปเสียงสรุปบทเรียน และการสอนเสริม เป็นต้น
  3. สิ่งพิมพ์เสริมการเรียนการสอน เช่น แบบฝึกปฏิบัติ คู่มือเรียน ฯลฯ อาจใช้ร่วมกับสื่อบุคคลหรือสื่อมวลชนประเภทอื่นๆ ได้
  4. สิ่งพิมพ์ทั่วๆ ไป เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ที่มีคอลัมน์หรือบทความที่ให้ประโยชน์ ผู้สอนอาจแนะนาให้ผู้เรียนอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้หรือเพื่อนามาใช้อ้างอิงประกอบการค้นคว้า
  5. สิ่งพิมพ์ประเภทภาพชุด เป็นการให้ความรู้ทางรูปธรรมเพื่อใช้ในการเสริมสร้างประสบการณ์ ทาให้ผู้เรียนเข้าใจเหตุการณ์เรื่องราวหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ชัดเจนขึ้น เช่น ภาพชุดชีวิตสัตว์ หรือภาพชุดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น (สานักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, 9 กันยายน 2553)
    ดาวน์โหลด (3)ดาวน์โหลด (3)ดาวน์โหลด (3)

ประโยชน์และคุณค่าของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา

1.สื่อสิ่งพิมพ์สามารถเก็บไว้ได้นาน สามารถนามาอ่านซ้าแล้วซ้าอีกได้

2.สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ

3.สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่ใช้ง่าย ไม่ยุ่งยาก

4.สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่จัดทาได้ง่าย โดยครูผู้สอนสามารถทาได้เองได้ มีวิธีทาที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เช่น ใบงาน ใบความรู้ เป็นต้น

ข้อดีและข้อจากัดของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา

ข้อดี

1.สามารถอ่านซ้า ทบทวน หรืออ้างอิงได้

2.เป็นการเรียนรู้ที่ดีสาหรับผู้ที่สนใจ

3.เป็นการกระตุ้นให้คนไทยรักการอ่าน

ข้อจำกัด

1.ผู้มีปัญหาทางสายตา หรือผู้สูงอายุอ่านไม่สะดวกในการใช้

2.ข้อมูลไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงทีได้

3.ผู้ไม่รู้หนังสือ ไม่สามารถเข้าถึงได้

 

เอกสารอ้างอิง

กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: http://www.bmaeducation.in.th/content_view.aspx?con=431 (สืบค้นข้อมูล 13 ธ.ค. 58)

ฉัตรสุดา หลาวรรณะและสิริภรณ์ แก้วมงคล.บทบาทหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:http:// http://www.talja.ob.tc/singpim.doc (สืบค้นข้อมูล 13 ธ.ค. 58)

สื่อสิ่งพิมพ์(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาhttp://www.nayoktech.ac.th/~vwinwin/BC22_49/DasignP.htm

(สืบค้นข้อมูล 13 ธ.ค. 58)

สานักงานการศึกษา กรุงเทพมหานคร.สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก

http://www.bmaeducation.in.th/content_view.aspx?con=431(สืบค้นข้อมูล 13 ธ.ค. 58)

0

การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online learning)

การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online learning)

การเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระในรายวิชาให้มีประสิทธิภาพ คุณภาพในการเรียนการสอนบนเว็บยังรวมถึงส่วนประกอบอื่นๆ ที่สนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิดขึ้นบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น ส่วนลงทะเบียน การติดตามประเมินผลการเรียน จึงได้มีสถาบันและผู้ผลิตหลายแห่งพัฒนาซอฟท์แวร์ในการบริหารรายวิชา/การเรียนชั้น (Courseware/Learning Management System CMS/LMS) เพื่อช่วยในการอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนบนเว็บ อย่างไรก็ตามระบบการบริหารการจัดการนี้ก็เป็นเพียงเครื่องมือที่ต้องขึ้นอยู่กับผู้สอนที่จะใช้เทคนิควิธีและกลยุทธ์ ที่จะทำให้เกิดการเรียนการสอนบนเครือข่ายหรือการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ

  1. ระบบบริหารรายวิชา/การเรียน (Course/Learning Management System -C/LMS)

กลุ่มคณะกรรมการเทคโนโลยีการศึกษา (Standing Committee on Educational Technology – SCOET) วิเคราะห์เปรียบเทียบซอฟท์แวร์การสื่อสารเพื่อการศึกษาผ่านคอมพิวเตอร์และได้ทำการเผยแพร่ข้อมูล

การประเมิน และวิเคราะห์ โปรแกรมระบบบริหารการเรียนเหล่านี้ไว้ที่เว็บไซต์ www.edutools.info ดังจะยกตัวอย่างโปรแกรมที่พัฒนาโดยหน่วยงานเอกชน และสถาบันการศึกษา ซึ่งได้มีการพัฒนามาแล้วเป็นระยะหนึ่งและมีผู้ใช้จำนวนมาก ในที่นี้ขอยกตัวอย่างโปรแกรมแอนเจิล โปรแกรมแบล็คบอร์ด

1.1 โปรแกรมแอนเจิล (Angle)

เป็นโปนแกรมที่พัฒนาโดยสถาบันการศึกษา คือมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (oncourse.iupui.edu)

1.1.1 สิทธิ์ในการใช้โปรแกรม ผู้เข้าใช้ทุกคนต้องมีรหัสผ่าน การออกแบบแบ่งตามสิทธิ์ใช้เป็น 3 ระดับ คือ ผู้จัดการระบบ ผู้สอน และผู้เรียน

ฐานะผู้จัดการรายวิชาหรือผู้สอน ผู้จัดการระบบเครือข่ายจะให้เนื้อที่เครื่องมือต่างๆ ในการพัฒนาเว็บให้กับผู้สอนเพื่ออำนวยความสะดวกในการออกแบบและจัดการเรียนการสอน ผู้ออกแบบรายวิชาหรือผู้สอนจะมีสิทธ์ในการออกแบบแก้ไขข้อมูลต่างๆ ในรายวิชาที่ตนเองออกแบบได้ตลอดเวลา ส่วนสิทธิ์ในฐานะนั้นผู้เรียนมีสิทธิ์เข้าศึกษาและใช้เครื่องมือต่างๆ ที่กำหนดให้แต่ไม่สามารถแก้ไขเอกสารต่างๆ ในรายวิชาได้

1.1.2 ลักษณะของโปรแกรม โปรแกรมอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนได้โดยไม่จำกัดเรื่องสถานที่และเวลา ผู้เรียนและผู้สอนสามารถปฏิสัมพันธ์กันได้ในลักษณะการสื่อสาร 2 ทางเช่น การอภิปรายกลุ่ม การสนทนา การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

เมื่อเข้าสู่ระบบบริหารของโปรแกรม ผู้ใช้จะต้องระบุรหัสผ่าน (Login) โดยใส่ชื่อและรหัสส่วนตัวที่ผู้จัดการระบบให้ ในหน้าจอนี้สามารถค้นหาผู้ใช้และรายวิชาเรียกดูเนื้อหาสาระ ข่าวสาร และขอความช่วยเหลือ ข้อมูลที่ปรากฏ ได้แก่ รายวิชาทีเปิดสอน และเครื่องมือออกแบบการเรียนของรายวิชา

  • โครงสร้างของคอร์ส ผู้ใช้จะพบโครงสร้างของคอร์ส ได้แก่
  • ประมวลรายวิชา (Course syllabus) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของรายวิชา ข้อตกลงทั่วไป การตัดเกรด ฯลฯ
  • ตารางเวลา (Schedule) ตารางเวลาแสดงกำหนดส่งงาน ตลอดภาคการศึกษา
  • ชั้นเรียน (class) เป็นราบชื่อนักศึกษารวมทั้งอาจารย์ผู้สอน วิทยากร ซึ่งเชื่อมโยงต่อไปยังประวัติหรือรายละเอียดของบุคคลนั้นๆ
  • สานสัมพันธ์ (In touch) ช่วยให้สามารถติดต่อผู้เรียน ผู้สอนด้วยอีเมล์ การสนทนากระดานข่าว และสนทนาออนไลน์
  • เครื่องมือ (Tools) ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน การเชื่อมโยงสู่ระบบงานนิสิต รายงานเกรด การประเมิน และเครื่องมือค้นหาผู้ใช้อื่น
  • ส่วนช่วยเหลือ (Help) เป็นการให้คำอธิบายการใช้โปรแกรม

 

  • โปรแกรมแบล็คบอร์ด (Blackboard)

โปรแกรมแบล็คบอร์ด เป็นโปรแกรมที่หน่วยงานเอกชนออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการอบรมบนเว็บโดยเฉพาะ มีลักษณะเป็นสำเร็จรูป ผู้ใช้เลือกใช้รูปแบบและตัวเลือกที่ต้องการและใช้ข้อมูล

1.1.1 สิทธิการใช้โปรแกรม

โปรแกรมแบล็คบอร์ดกำหนดสิทธิ์การใช้โปรแกรมให้กับ 3 กลุ่ม คือ อาจารย์ผู้สอนหรือผู้ออกแบบรายวิชา ผู้จัดการ และผู้เรียน แต่ละบุคคลก็จะมีสิทธิ์การใช้โปรแกรมแตกต่างกันไป

ผู้สอนหรือผู้ออกแบบรายวิชา ผู้สอนสามารถจัดการรายวิชาของตนเอง โดยผู้จัดการระบบจะให้เครื่องมือต่างๆ กับอาจารย์ผู้สอน เพื่ออำนวยความสะดวกในการออกแบบเว็บเพื่อการเรียนการสอน อาจารย์แก้ไขข้อมูลต่างๆ ในรายวิชาของตนเองโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่

ผู้เรียน ผู้เรียนหมายถึงผู้ลงทะเบียนเรียนในวิชานั้นๆ รวมทั้งบุคคลอื่นๆ ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยมชมหรือเข้าศึกษาได้ ผู้เรียนมีสิทธิ์เข้าออกโปรแกรมได้ตลอดเวลาสามรถใช้เครื่องมือต่างๆ ตามที่กำหนด แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีการเข้าไปแก้ไขข้อมูลต่างๆ ในรายวิชา มีสิทธิ์เพียงเป็นผู้ใช้ข้อมูล แต่อนุญาตให้ผู้เรียนออกแบบเว็บเพจของตนเองได้ตามเนื้อที่ที่กำหนด

ผู้จัดการหรือผู้ดูแลระบบ ผู้ดูแลระบบมีเครื่องมือต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกเช่น การกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้ การกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ต่างๆ การบริหารจัดการแหล่งข้อมูลกลางของหน่วยงาน โปรแกรมเตรียมเครื่องมือนี้ไว้เพื่อการจัดการระบบให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

1.1.2 ลักษณะของโปรแกรม

ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนได้ตลอดเวลา ผู้สอนสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การอภิปรายกลุ่ม การสนทนา การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

การเข้าสู่ระบบ เมื่อผู้ใช้เข้าในโปรแกรมต้องการมีการระบุชื่อผู้ใช้โดยใส่ชื่อและรหัสผ่านส่วนตัว      เมื่อเข้าสู่ระบบจะปรากฏข้อมูลของรายวิชา ซึ่งจะมีข้อมูลเกี่ยวกับวิชาที่เปิดสอนผ่านเว็บและเครื่องมืออำนวยความสะดวกที่ใช้ในการออกแบบรายวิชา (สำหรับอาจารย์ผู้สอน) ในหน้าจอนี้สามารถค้นหา ชื่อผู้ใช้           ชื่อรายวิชา โดยเติมข้อความ และความสามารถเรียนดูข้อมูล ข่าวสารหรือข้อความช่วยเหลือในการใช้โปรแกรม

1.1.3 โครงสร้างคอร์ส

โปรแกรมแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่โปรแกรมกำหนดขึ้นมาให้อัตโนมัติและผู้ใช้สามารถแก้ไขได้และส่วนของโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถใช้ได้ ประกอบด้วย

1.) ประกาศข่าว (Announcement) การประกาศข่าวหรือการให้คำแนะนำกับผู้เรียนเกี่ยวกับการเรียนในวิชานั้นๆ พร้อมกับข้อเสนอแนะ ในการติดต่อสื่อสาร การส่งงานต่างๆ โดยประกาศจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ ผู้เรียนสามารถเลือกดูได้จากรายการที่กำหนดให้ไว้ในแต่ละวัน

2.) สารสนเทศของรายวิชา (Course information) ได้แก่ ประมวลรายวิชาของวิชาที่เรียน

3.) ทีมงาน (Staff information) ข้อมูลรายชื่ออาจารย์ผู้สอน วิทยากร ผู้ช่วยประกอบด้วยข้อมูลส่วนตัว ประวัติการทำงาน รายวิชาที่สอน

4.) เอกสารการสอน (Course document) เอกสารประกอบการสอนในรายวิชาซึ่งแยกออกเป็นเรื่อง เป็นตอนสั้นๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนโปรแกรมการเรียน พร้อมทั้งมีแบบทดสอบหรือแบบฝึกหัดเพื่อให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเองพร้อมทั้งคำแนะนำ

5.) มอบหมายงาน (Assignment) การมอบหมายงานเป็นคำแนะนำหรือใบสั่งงานในการเรียน ซึ่งแนะนำว่าผู้เรียนควรจะทำอะไรก่อนหลัง และเวลามีปัญหาสามารถติดต่อกับใคร

6.) การสื่อสาร (Communication) การสื่อสารช่วยส่งเสริมการทำงานของผู้เรียนกับผู้สอนและเพื่อน หลังจากการเรียน ประกอบด้วยเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวกเช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กระดานข่าว ส่วน Student roster / virtual classroom / group page เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนให้ผู้เรียนทำงานเป็นคู่และเป็นกลุ่มในโครงการต่างๆ

7.) การเชื่อมโยงเว็บไซต์ภายนอก (External link) เป็นแหล่งข้อมูลภายนอกที่สนับสนุนรายวิชา โดยจะมีการระบุชื่อเว็บไซต์ และหัวข้อรายละเอียดสั้นๆ

8.) เครื่องมืออำนวยความสะดวก (Tools) ประกอบด้วยการส่งงาน การแก้ไขโฮมเพจส่วนตัว การตรวจสอบผลการเรียน งานที่ได้รับมอบหมาย กระดานบันทึกกันลืม รวมทั้งคู่มือผู้เรียน

9.) ทรัพยากร (Resources) เป็นแหล่งข้อมูลทั่วไป เช่น ข่าวสารความเคลื่อนไหวทางวิชาการ แหล่งสืบค้นงานวิจัย ซึ่งหน่วยงานส่วนกลางมักเป็นผู้จัดเตรียมไว้ให้

10.) แผนที่รายวิชา (Course map) เป็นแผนผังรายวิชา มีหัวข้อเรื่องทั้งหมดที่อยู่ในโปรแกรม

11.) คอร์สพาเนล (Course panel) เป็นเครื่องมือที่ไว้ให้สำหรับผู้สอนในการออกแบบการสอนประกอบด้วย พื้นที่เนื้อหา เครื่องมือรายวิชา ทางเลือกรายวิชา การบริหารจัดการผู้เรียน การประเมิน ความช่วยเหลือ รายละเอียดอื่นๆ เช่น

* สถิติของรายวิชา ผู้สอนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลผลการเรียนโดยผ่านระบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพรายละเอียดในระบบเครือข่าย เช่น รายงานการสื่อสาร รายงานกิจกรรมกลุ่ม รายงานข้อมูลนักศึกษา รายงานผลการเรียน

* รายงานเกรดของรายวิชา มีการแก้ไขเกรดหลากหลายรูปแบบ ซึ่งผู้สอนสามารถออกแบบการให้เกรดได้เอง รวมทั้งคะแนนการประเมินในแต่ละส่วน สรุปคะแนนรวม ผู้สอนสามารถคลิกดูคะแนนแต่ละส่วนที่ได้ออกแบบไว้แล้วสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา สามารถคลิกดูชื่อผู้เรียนแต่ละคนเพื่อตรวจสอบเกรด ดูการให้คะแนนและแก้ไขได้

  1. กลยุทธ์การเรียนการสอนออนไลน์

การเรียนการสอนบนเว็บใช้เทคโนโลยีทำหน้าที่ส่งงานหรือเผยแพร่การสอนและกิจกรรมการเรียนที่ออกแบบไว้แล้วล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ กระบวนการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นจริงบนเครือข่ายหรือออนไลน์   จะมีความเป็นพลวัตรได้ด้วยบทบาทหน้าที่ ของผู้เรียนผู้สอนที่แตกต่างกันไปจากสภาพในห้องเรียนที่มีการพบปะกันจริง ซึ่งผู้เรียนผู้สอนมีภารกิจและกลยุทธ์ในการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากเดิม

 

2.1 ภารกิจในการเรียนการสอนออนไลน์

ในกระบวนการเรียนการสอนออนไลน์นั้น คูนี่และสตีเฟนส้น (2545) เสนอภาระหน้าที่การเรียนและการสอนบนเว็บโดยใช้เส้นตรงการกำหนดภารกิจการเรียน ตัดกับเส้นตรงของภาระการควบคุมการเรียนรู้ ดังนี้

* เส้นตรงการกำหนดภารกิจการเรียน เส้นตรงแนวตั้งเส้นนี้ปลายเส้นด้านบนเป็นการกำหนดการภารกิจที่เจาะจงชัดเจน ส่วนอีกปลายทางด้านล่างเป็นภารกิจที่เปิดกว้างให้ผู้เรียนกำหนดด้วยตนเอง

* เส้นตรงภาระการควบคุมการเรียน เส้นตรงแนวนอนนี้ปลายทางด้านซ้ายเป็นการควบคุมโดยผู้สอน ส่วนอีกปลายทางหนึ่งเป็นการควบคุมโดยตัวผู้เรียนเอง

เส้นตัดของการกำหนดภาระกิจการเรียนและภาระการควบคุมการเรียน ทำให้แยกพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ในแต่ละส่วนมีการเน้นบริบทการเรียนการสอน และบทบาทหน้าที่ผู้สอนต่างกัน ดังนี้

 

พื้นที่ส่วนที่ 1 เป็นบริบทการเรียนที่มีการกำหนดภารกิจการเรียนไว้อย่างเฉพาะเจาะจงและครูทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติภารกิจการเรียนนั้น บทบาทของครูสอนจึงเป็นทั้งครูและผู้สอน คอยควบคุมดูแลให้ผู้เรียนปฏิบัติตามภารกิจการเรียนอย่างเคร่งครัด ในการจัดการเรียนการสอนในบริบทนี้ผู้สอนต้องเตรียมพร้อมบทเรียนหรือสารสนเทศในรูปของไฮเปอร์มีเดียที่มีประสิทธิภาพโดนเน้นให้มีกิจกรรมการปฏิสัมพันธ์ที่ให้ผลป้อนกลับจากโปรแกรมได้ทันที และจัดให้มีการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนในเวลาจริง เช่น การจัดสนทนาผ่านโปรแกรมแช๊ท (Chat)

 

พื้นที่ส่วนที่ 2 เป็นบริบทการเรียนที่มีการกำหนดภารกิจการเรียนไว้อย่างเฉพาะเจาะจงแต่ให้ผู้เรียนรับผิดชอบตนเอง ผู้สอนในบริบทเช่นนี้ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึก (Coach) โดยผู้เรียนจะต้องปฏิบัติตามภารกิจการเรียนและควบคุมตนเอง ในการจัดการเรียนการสอนในบริบทนี้ผู้สอนควรจัดกลุ่มการเรียนให้มีกลุ่มย่อยขนาดเล็กและคอยแนะนำช่วยเหลือผู้เรียนหายุทธวิธีให้เกิดปฏิสัมพันธ์สื่อสารระหว่างผู้เรียนเพื่อให้เกิดกระบวนการกลุ่มออนไลน์ เช่น ต้องระบุแนวทางการปฏิบัติของผู้เรียนไว้ในโครงสร้างรายวิชาให้ชัดเจน กำหนดข้อบังคับให้ผู้เรียนช่วยเหลือและเรียนร่วมกัน

 

พื้นที่ส่วนที่ 3 เป็นบริบทการเรียนที่มีภารกิจทางการเรียนที่เปิดกว้างให้ผู้เรียนเลือกปฏิบัติภาระกิจการเรียนด้วยตนเองโดยมีผู้สอนเป็นผู้คอยควบคุมการเรียน ผู้สอนมีบทบาทหน้าที่เป็นผู้แนะแนวทาง คือผู้สอนจะช่วยแนะนำการกำหนดภารกิจการเรียนในเบื้องต้น แต่หลังจากนั้นผู้เรียนจะศึกษาในรายละเอียดและกำหนดโครงสร้างการเรียนตามแนวทางของตนเอง ในบริบทการเรียนการสอนผู้สอนต้องเสนอแนะแนวทางการเรียน ให้คำแนะนำและตัวอย่างในการเรียน และขั้นตอนการแก้ปัญหาที่ละเอียดชัดเจน รวมทั้งสนับสนุนการจัดการและกระตุ้นให้ผู้เรียนร่วมกิจกรรมกลุ่มออนไลน์เพื่อทำให้เกิดสภาพการเรียนที่มีความร่วมมือระหว่างกลุ่ม

 

พื้นที่ส่วนที่ 4 เป็นบริบทการเรียนที่มีภารกิจทางการเรียนที่เปิดกว้าง และให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมภารกิจกิจการการเรียนด้วยตนเอง การเรียนออนไลน์ในลักษณะนี้ผู้เรียนจะควบคุมการเรียนของตนเองอย่างสมบรูณ์ โดยมีผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการความสะดวกการเรียน ผู้เรียนจะกำหนดแนวทางเป้าหมายการเรียนรู้ของตนเองไว้แล้วในเบื้องต้น เช่น ระยะเวลาการเรียน การตรวจสอบและผลทางการเรียน และรวมทั้งกิจกรรมการปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนของตนเองซึ่งอาจจะเรียงตามลำพังหรือกับกลุ่ม ลักษณะการเรียนในบริบทเช่นนี้จะต้องอาศัยการเรียนแบบร่วมมือแลกเปลี่ยนความคิดและเปิดกว้างสู้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภายนอก

การเรียนการสอนบนเว็บเมื่อนำไปสู่ออนไลน์ เน้นภาระหน้าที่ที่ผู้สอนในการเข้าไปเกี่ยวข้องในการควบคุมจัดการภารกิจการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ในการเรียนออนไลน์ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปมักจะผสมผสานทุกรูปแบบของภาระการเรียนการสอนและการควบคุมเข้าด้วยกันตามความเหมาะสม

2.2 บทบาทผู้สอน

การเรียนการสอนบนเว็บเป็นการใช้เทคโนโลยีทำหน้าที่ป้อนเนื้อหาสาระที่ผู้สอนออกแบบถ่ายทอดไว้อย่างเป็นระบบและรอบคอบแทนครู ผู้เรียนจึงต้องเป็นผู้สรรหาความหมายของการเรียนรู้ด้วยตนเอง นอกจากผู้สอนจะต้องจัดเตรียมเนื้อหาสาระดังกล่าวในเบื้องต้นแล้วจะต้องปรับและจัดการชั้นเรียนเสมือนหรือออนไลน์ซึ่งทำให้ผู้สอนแปรรูปบทบาทเป็นครูอิเล็กทรอนิกส์ ดังมีบทบาทหลักต่อไปนี้ เช่น เป็นผู้อำนวยความสะดวก ผู้ใช้ความช่วยเหลือ ผู้สร้างสังคมของการเรียนรู้เสมือนผู้เรียนสามารถค้นพบการเรียนรู้นั้น ดังบทบาทหลักๆ ดังต่อไปนี้

2.2.1 บทบาทผู้อำนวยการหรือผู้อำนวยความสะดวกทางการเรียนการสอน ผู้สอนอาจเป็นผู้ออกแบบพัฒนาเว็บเพื่อการเรียนการสอน หรืออาจทำหน้าที่เป็นผู้คัดสรรสาระจากเว็บเพื่อการเรียนรู้ จะต้องมีหน้าที่ในการเป็นครูหรือผู้สอนออนไลน์อยู่ที่ปลายทาง บทบาทการเป็นผู้อำนวยการแสดงหรืออำนวยความสะดวก

 

2.2.2 บทบาทผู้สอน (Instructor) ในฐานะของผู้สอนซึ่งได้ใช้เทคโนโลยีเว็บทำหน้าที่ส่งผ่านเนื้อหาไปยังผู้เรียนแล้วนั้น ผู้สอนยังต้องทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ โดยการจัดสิ่งแวดล้อมกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยสื่อในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำเสนอได้ด้วยเว็บ ตัวอย่าง เช่น การสร้างกิจกรรมทางการเรียนรู้แบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

 

2.2.3 บทบาททางสังคม (Social role) ในบทบาททางสังคมนี้ครูผู้สอนทำหน้าที่เสมือนแกนนำประสานความสัมพันธ์ภายในกลุ่มให้เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการเรียนในห้องเรียน ซึ่งทั้งนี้จะมีความละเอียดซับซ้อนต่างมิติจากการเรียนในชั้นเรียนดังที่เรียกว่าเป็นการสร้างชุมชนการเรียนเสมือน ผู้สอนควรสร้างบรรยากาศที่แสดงให้ผู้เรียนรู้สึกถึงความเป็นสังคม แสดงความเอาใจใส่และมีผู้สอนอยู่ร่วมตลอดกระบวนการเรียนอยู่เสมอ เช่น การใช้ข้อความการต้อนรับ การเชื้อเชิญ การขออภัย หรือแม้กระทั่งการโต้ตอบที่เจาะลงไปยังผู้เรียนเฉพาะคนหรือกลุ่ม

 

2.2.4 บทบาทในการจัดการ (Management role) บทบาทในการจัดการในที่นี้หมายถึง การที่ผู้สอนต้องจัดการวางโครงสร้างของรายวิชานั้น รายละเอียดของกิจกรรม ช่วงเวลาที่จะใช้ในการพบปะ เกณฑ์การประเมินและตัดเกรด จัดแก้ไขปรับปรุงเอกสารรายวิชา ทบทวนแก้ไขปรับปรุงรายวิชา เช่น การจัดกลุ่ม การอำนวยความสะดวกในการส่งงาน การจัดการกระดานข่าวให้คำปรึกษา หรือห้องเสวนาออนไลน์เพื่อช่วยตอบคำถาม เป็นต้น

 

2.2.5 บทบาททางด้านเทคนิค (Technological role) ผู้สอนในภาระบทบาทหน้าที่นี้ต้องให้ความช่วยเหลือผู้เรียนด้านเทคนิค เช่น การตอบคำถามหรือประสานงานแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเทคนิคให้กับผู้เรียน

2.3 กลยุทธ์การสอนออนไลน์

บทบาทของผู้สอนที่ต้องเน้น การเป็นผู้อำนวยความสะดวก การจัดการ การสร้างกลุ่มและสังคม บทบาททางเทคนิค และก็ยังคงสถานภาพความเป็นครู กลยุทธ์การเป็นผู้สอนออนไลน์ พิจารณาตามวงจรของการสอน ได้แก่ การเตรียม การสอน การจัดการ และการประเมิน

2.3.1 การเตรียม

การเตรียมการเป็นสิ่งสำคัญทั้งในการเรียนการสอนในห้องเรียนและการเรียนการสอนบนเว็บ ความได้เปรียบของการเรียนการสอนบนเว็บ คือ บทเรียนที่ได้นำเสนอบนเว็บมาแล้วนั้นโดยทั่วไปจะได้รับการวางแผนแล้วเป็นอย่างดีและนำเสนอได้อย่างคงที่ ไม่ขึ้นอยู่กับสภาพส่วนตัวของผู้สอน

2.3.2 การดำเนินการสอน

แม้ว่าบทเรียนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนบนเว็บจะได้ถูกกำหนดไว้แล้วล่วงหน้า ประสิทธิภาพของการเรียนการสอนบนเว็บยังขึ้นอยู่กับผู้สอนเป็นหลักที่จะทำหน้าที่อยู่เบื้องหลังการเรียนของผู้เรียน เช่นกัน เทคนิคกลยุทธ์ที่ผู้สอนจะมีส่วนช่วยทำให้การเรียนการสอนบนเว็บมีชีวิตชีวาและมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น

  • ผู้สอนจะต้องเข้าใจความแตกต่างของผู้เรียน ลักษณะการเรียนรู้ ภาวะทางสังคมและให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสม
  • สร้างความรู้สึกทางสังคมให้เกิดขึ้นในเชิงสัมพันธภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์กับครู
  • ผู้สอนควรสอดส่องดูแลช่วยให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น มีส่วนร่วม ไม่ปล่อยให้เป็นผู้เงียบเฉย
  • ผู้สอนต้องควบคุมกิจกรรมการเรียนการสอนให้อยู่ในทิศทางของวัตถุประสงค์การเรียน
  • ผู้สอนต้องระมัดระวังในการสื่อสารกับผู้เรียน ในการให้คำตอบหรือสื่อสารต้องคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองและตอบอย่างรอบคอบถี่ถ้วน
  • ผู้สอนควรคำนึงถึงการมอบหมายงานในปริมาณที่เหมาะสม
  • ผู้สอนสามารถประยุกต์ปรับเทคโนโลยีที่มีอยู่ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน

2.2.3 การจัดการ การเรียนการสอนบนเว็บเกิดขึ้นได้อย่างไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ทำให้ภารกิจหน้าที่ของผู้สอนมากขึ้นตามศักยภาพของเทคโนโลยีที่เปิดโอกาส การเรียนที่แตกต่างจากการเรียนการสอนในห้องเรียน ผู้สอนออนไลน์ต้องคำนึงถึงเรื่องของการจัดการเวลาและวิธีการเพื่อตอบรับ ลักษณะของการเรียนการสอนเช่นนี้ ได้แก่

1.) การจัดตารางเวลาอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องด้วยการเรียนการสอนบนเว็บจะเกิดขึ้นได้ตลอด 24 ชั่วโมง ณ สถานที่ใดก็ได้ที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปถึง ผู้สอนต้องรับภาระที่สูงกว่าการเรียนการสอนแบบชั้นเรียนปกติ ทั้งการปรับปรุงเนื้อหาสาระ การจัดกิจกรรม การตามผล และการให้คำปรึกษาผ่านออนไลน์ซึ่งนับว่ามีความสำคัญ ไม่ควรปล่อยให้ผู้เรียนกังวลจากการรอรับการตอบจากผู้สอน การแจ้งให้ผู้เรียนทราบกำหนดเวลาการสื่อสารทั้งแบบต่างเวลา และออนไลน์พร้อมกัน ทำให้ผู้เรียนสามารถคาดหวังการโต้ตอบได้และเป็นการจัดการเวลาที่ประสิทธิภาพของผู้สอน เช่น การกำหนดเวลาที่จะรับการโต้ตอบทางอีเมล์ กระดานข่าว ในแต่ละสัปดาห์ หรือการกำหนดเวลาทำการ ที่ผู้สอนจะอยู่ออนไลน์ในกรณีที่ผู้เรียนต้องการโต้ตอบกับผู้สอนแบบทันทีทันใด

2.) การจัดผู้ช่วยสอนออนไลน์ ผู้ช่วยสอนออนไลน์ทำหน้าที่เช่นเดียวกับผู้สอนมีบทบาทที่ช่วยดำเนินในการตรวจสอบข้อสอบ ตอบอีเมล์ หรือช่วยเหลืองานทางด้านเทคนิคหรือสาระอื่นๆ ที่จะช่วยบรรเทาภาระการสอนโดยตรงของผู้สอน โดยทั่วไปผู้ช่วยสอนมีบทบาท 3 ประการหลัก คือ

– ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาสาระ คือต้องเตรียมทำความเข้าใจกับบทเรียน เพื่อการตอบปัญหาในเบื้องต้น
– ผู้ตรวจสอบควบคุม คือการควบคุมการปฏิบัติการเรียนและพร้อมทั้งให้คำปรึกษาชี้แนะแนวทาง
– ผู้ประเมินผลการเรียน คือบทบาทที่ช่วยในการประเมินผลการเรียนรู้ตามแนวทางที่ผู้สอนมอบหมาย

2.3.4 การประเมินการเรียนรู้ การประเมินเป็นประเด็นสำคัญในการเรียนการสอน ทั้งในห้องเรียนปกติและการเรียนบนเว็บ การประยุกต์หลักการจัดแบบทดสอบหรือวัดจากผลงานจริง สามารถทำได้ใกล้เคียงเช่นเดียวกับการเรียนในห้องเรียนแบบปกติ แต่ด้วยมิติของการเรียนบนเว็บที่ผู้เรียนผู้สอนไม่ได้พบกันจริง    ทำให้ผู้สอนบนเว็บต้องตระหนักและคำนึงถึงกลยุทธ์ในการประเมิน เช่น

การควบคุมการตรวจสอบการประเมิน การประเมินผลการเรียนบนเว็บเป็นประเด็นที่ยากต่อการควบคุมให้เที่ยงตรง นอกจากผู้สอนจะสร้างสำนึกความรับผิดชอบในการประเมินผลด้วยตนเองของผู้เรียนแล้ว ยังอาจใช้วิธีการทดสอบที่ผู้เรียนต้องใช้ความคิดวิเคราะห์ในขั้นสูงที่ยากต่อการลอกเลียนให้ผู้อื่นทำให้ ผู้สอนต้องรู้จักผู้เรียนเป็นสมควรที่จะตรวจสอบได้ เช่น การเข้าเรียน เวลาที่ใช้ในการเรียน การโต้ตอบสื่อสาร เพียงพอที่เห็นถึงพัฒนาการการเรียนรู้บนเว็บของผู้เรียนอย่างสมเหตุสมผล หรือการจัดการสอบโดยมีผู้คุมสอบในพื้นที่ หรือสุ่มโทรศัพท์ตรวจสอบการเรียนในขณะที่ออนไลน์จริง

การใช้การประเมินจากผลงานจริง การประเมินผลงานจากผลงานจริงเป็นการศึกษาความก้าวหน้าการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการติดตามประเมินได้จากชิ้นงานของผู้เรียนซึ่งเก็บไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์สะสมเป็นผลงานส่วนตัวของผู้เรียน (wed-portfolio) และนำเสนอเพื่อประเมินได้จากมุมมองของตนเอง จากผู้เรียนอื่น กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง และผู้สอน ตามกฎเกณฑ์การประเมินที่เป็นข้อตกลงกันไว้ล่วงหน้า

 

เอกสารอ้างอิง

ใจทิพย์ ณ สงขลา.(2547). การออกแบบการเรียนการสอนบนเว็บในระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์.

กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์.(2546). การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและเว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ.

กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

อรพรรณ พรสีมา.(2530). เทคโนโลยีการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

 

0

การประยุกต์เทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อการจัดการเรียนการสอน

 การประยุกต์เทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อการจัดการเรียนการสอน

ความรู้พื้นฐานของเทคโนโลยีเครือข่าย

        ในอดีตคอมพิวเตอร์มีราคาแพงและถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการทำงานแบบผู้ใช้คนเดียว ส่งผลให้การทำงานเป็นไปอย่างไม่คุ้มค่า อีกทั้งในปัจจุบันได้มีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ เพิ่มขึ้นมากมาย ทำให้มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ มาเชื่อมต่อกัน เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความสะดวกสบาย

เป้าหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  1. เนื่องจากอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์มีราคาแพง เพื่อให้ใช้ทรัพยากรเหล่านั้นอย่างคุ้มค่า จึงมีการนำเอาอุปกรณ์เหล่านั้นมาใช้งานร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ และโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น
  2. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ อีกทั้งยังสามารถกำหนดระดับการใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้
  3. ผู้ใช้แต่ละคนสามารถติดต่อกันได้สะดวก โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 

การแบ่งประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์

แบ่งประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามขนาด

          ระบบเครือข่ายระยะใกล้ (LAN: Local Area Network) เป็นเครือข่ายซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดเชื่อมโยงกันอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ กัน เช่น อยู่ภายในแผนกเดียวกันอยู่ภายในสำนักงาน หรือภายในตึกเดียวกัน

aaa

ระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN: Wide Area Network) เป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยเครือข่าย LAN ตั้งแต่ 2 วงขึ้นไปเชื่อมต่อกันในระยะทางที่ไกลมาก เช่น ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ

aaaa

ระบบเครือข่ายบริเวณเมืองใหญ่ (MAN: Metropolitan Area Network) เป็นระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจตั้งอยู่ห่างไกลกันในช่วง 5 ถึง 50 กิโลเมตร ผู้ใช้ระบบนี้มักจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ แต่การใช้ข้อมูลจำกัดอยู่ภายในบริเวณเมือง

aaaaa

 

 ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

การใช้อุปกรณ์ร่วมกันของระบบเครือข่าย

การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server)หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง

การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกันได้

สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail)การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น

การใช้โปรแกรมติดต่อสื่อสารระยะไกล

สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (Business Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น

 

การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. Electronic mail: จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการส่งข่าวสารโดยระบุตัวผู้รับเช่นเดียวกับจดหมาย    ผู้รับจะได้รับอย่างรวดเร็วเนื่องจากเป็นการส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันอยู่

sss

  1. Electronic Bulletin Boards: บริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารรวมทั้งแสดงความคิดเห็นผ่านกระดานข่าวของกลุ่มแบบอิเล็กทรอนิกส์
    xxx
  2. Electronic Teleconference, Videoconferencing: การประชุมทางไกลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ประหยัดเวลาของผู้เข้าร่วมประชุม และนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่น ๆ เช่นใช้ในการเรียนการสอน ใช้ในตรวจรักษาโรคผ่านการประชุมทางไกล เป็นต้น
    xxxx
  3. Electronic Data Interchange – EDI: การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
    zzzz
  4. Electronic Funds Transfer – EFT: การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
    zzzzz
  5. E-commerce, E-Banking, E-learning, E-government : การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ”ต่างๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต , การเรียนการสอนผ่านระบบ อินเทอร์เน็ต ,วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ
    bbbb
  6. Telnet (Remote Login) : การควบคุมระยะไกล
    เป็นบริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกลผู้ใช้งานสามารถเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น จะตั้งอยู่ใกล้หรือไกล ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยตรง ซึ่งการที่เราจะเข้าไปควบคุมได้นั้น เราจะต้องได้รับอนุญาต จากผู้ควบคุมเครื่องนั้น ๆ โดยผู้ใช้จะต้องมีชื่อบัญชีและรหัสผ่านที่กำหนดไว้ให้สำหรับเข้าไปใช้งาน

mmmm

  1. Ftp (File Transfer Protocol) : คือ บริการที่ใช้ในการโอนย้าย file หรือข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกคอมพิวเตอร์หนึ่ง สามารถโอนย้ายข้อมูล เช่น รูปภาพ , ข้อความ , บทความ , คู่มือ และโปรแกรมต่าง ๆ

ooo

  1. World Wide Web : คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ที่ถูกเชื่อมต่อกันในแบบพิเศษที่ทำให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาที่เก็บไว้ภายในของแต่ละเครื่องได้

;l

 

การประยุกต์เทคโนโลยีเครือข่ายด้านการเรียนการสอน

       การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น

        ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใดก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการระบบวิดีโอออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้

การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Compossor FrontPage Marcromedia DreaWeaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

 

แหล่งอ้างอิง

http://www.sawi.ac.th/elearning/4_14.htm. 12 ธันวาคม 2558

https://meteepigulthong.wikispaces.com. 12 ธันวาคม 2558

https://sites.google.com/site/krunoptechno/kar-prayukt/kar-prayukt-dan-kar-suksa

       12 ธันวาคม 2558

http://group8-401-2.blogspot.co/ 12 ธันวาคม 2558

0

ระบบฐานข้อมูล(Database system)

ระบบฐานข้อมูล (Database system)  

โดยทั่วไปแล้วความหมายของฐานข้อมูลจะหมายถึง การเก็บรวบรวมไฟล์ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มาอยู่รวมกันไว้เข้าด้วยกัน (Integrated) อย่างมีระบบ ไฟล์ในที่นี้จะหมายถึง logical file ความนี้จะเป็นความหมายทั่ว ๆ ไป ซึ่งยังไม่สมบูรณ์แบบ ทั้งนี้ เนื่องจาก logical file จะประกอบด้วยกลุ่มของ records แต่ความจริงแล้วอาจจะไม่ใช่ก็ได้ เช่น ฐานข้อมูลใหม่ ๆ ที่เป็น object oriented model จะประกอบด้วยกลุ่มของ objects ดังนั้น ความหมายของฐานข้อมูลที่ครอบคลุมถึง object oriented ด้วยก็คือความหมายต่อไปนี้

ฐานข้อมูล หมายถึง ที่เก็บข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเหล่านั้น (A collection of data and relationships) โดยปกติแล้ว ในเรื่องของฐานข้อมูลมักจะเกี่ยวข้องกับ logical file มากกว่า physical file โดยเฉพาะการออกแบบฐานข้อมูลจะเป็นการออกแบบในส่วนของ logical file ถ้ากล่าวถึง logical file จะเป็นมุมมองของผู้ใช้หรือ application program แต่ถ้ากล่าวถึง physical file จะเป็นมุมมองของ system หรือ operating system การเกี่ยวข้องกันระหว่าง physical file กับ logical file นั้นก็คือ สามารถใช้ physical file มาสร้าง logical file ได้ สำหรับการเปลี่ยน logical file เป็น physical file นั้น ในระดับไฟล์ธรรมดาจะใช้ Operating system แต่ถ้าเป็นฐานข้อมูลจะใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลเป็นตัวเปลี่ยน (map) และนำเสนอโครงสร้างข้อมูลให้กับ application หรือผู้ใช้ เช่น ถ้าเราใช้ฐานข้อมูลแบบ relational model โครงสร้างที่เห็นจะเป็นตาราง (relation) แต่ฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างแบบ hierarchical model หรือ network model นั้น application หรือผู้ใช้จะมองเห็นเป็น tree และ link list ตามลำดับ

ระบบฐานข้อมูลจะมีลักษณะคล้ายการนำแฟ้มข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมาจัดเก็บไว้ด้วยกัน แต่ลักษณะโครงสร้างการจัดเก็บ รวมทั้งวิธีการใช้งานข้อมูลของฐานข้อมูล จะมีความแตกต่างออกไปจากแฟ้มข้อมูล ซึ่งการใช้งานระบบฐานข้อมูลจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการข้อมูลและเป็นตัวกลางระหว่าง ผู้ใช้กับฐานข้อมูล ที่เรียกว่า “Database Management System (DBMS)” หรือระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งผู้ใช้จะต้องใช้งานฐานข้อมูล ผ่านทางระบบจัดการฐานข้อมูลนี้เท่านั้น แสดงระบบจัดการฐานข้อมูลดังรูปที่ 1.6

ระบบฐานข้อมูล

รูปที่ 1.6

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลที่สำคัญ

1) ความถูกต้องของข้อมูล (Data Integrity) มี 2 ประเภท

– Static Integrity (State of Data)
เป็นความถูกต้องของเนื้อข้อมูล เช่น ผู้หญิงลาบวชไม่ได้ ผู้ชายลาคลอดไม่ได้ อายุของ พนักงานอยู่ระหว่าง 18-60 ปี หรือสมาชิกยืมหนังสือได้ไม่เกิน 5 เล่ม เป็นต้น
– Dynamic Integrity (State of Transition)

เป็นความถูกต้องของลำดับการแก้ไข เช่น การแก้ไขสถานะภาพสมรสของพนักงาน ดังรูปที่ 1.7

รูปที่ 2 ระบบฐานข้อมูล

รูปที่ 1.7 แสดงลำดับการแก้ไขสถานะภาพสมรส

ความถูกต้องของข้อมูลจะถูกบังคับโดย Integrity rule หรือ integrity constrains และไม่ควรถูกจัดการโดยโปรแกรม แต่จะถูกจัดการโดยระบบจัดการฐานข้อมูล

2) ความเป็นอิสระของข้อมูล (Data Independence)

หมายถึงการที่โปรแกรมเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

2.1) ความเป็นอิสระทางกายภาพ (Physical Data Independence)
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลระดับล่าง (Physical structure) จะไม่มีผลกระทบต่อโปรแกรม เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลจากการเก็บแบบ sequential file เป็นแบบ Index file โปรแกรมที่เรียกใช้ข้อมูลจาก file เหล่านี้จะไม่มีการแก้ไขหรือไม่ต้องการทำ compile ใหม่ หรือการโยกย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งก็ไม่มีผลกระทบต่อโปรแกรม
2.2) ความเป็นอิสระทางตรรกะภาพ (Logical Data Independence)
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลระดับกลางหรือระดับหลักการ (Conceptual level) ซึ่งเป็น logical structure จะไม่มีผลกระทบต่อโปรแกรม เช่น การเพิ่มเติมข้อมูลเข้าไปในโครงสร้างระดับกลางที่ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator) เป็นผู้กำหนดโปรแกรมที่มีอยู่เดิม ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เพิ่มเข้าไปนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือ compile ใหม่

อีกความหมายหนึ่งก็คือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลระดับบน (External level) ก็ไม่มีผลกระทบต่อข้อมูลระดับกลางและข้อมูลระดับล่าง เช่น การสลับลำดับของฟิลด์ในโปรแกรม เป็นต้น

ความเป็นอิสระของข้อมูลนี้ทำให้โปรแกรมสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ด้วยภาษาต่างกัน เช่น โปรแกรมหนึ่งเรียกใช้ข้อมูลได้ด้วยภาษาต่างกัน เช่น โปรแกรมหนึ่งเรียกใช้ข้อมูลด้วยภาษา COBOL อีกโปรแกรมหนึ่งเรียกใช้ข้อมูลด้วยภาษา SQL นอกจากนี้ยังรวมถึงการที่โปรแกรมสามารถเห็นข้อมูลได้หลายรูปแบบแตกต่างกัน

คุณลักษณะที่ดีของฐานข้อมูล (Good Characteristics of Database System)

1) ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลให้เหลือน้อยที่สุด (Minimum redundancy)
เป็นการทำให้ปัญหาเรื่องข้อมูลไม่ตรงกันลดน้อยลงหรือหมดไป โดยนำข้อมูลทั้งหมดมารวมกันเพื่อตัดหรือลดส่วนที่ซ้ำกันทิ้งไป ให้เหลืออยู่เพียงแห่งเดียว และเป็นผลทำให้สามารถแบ่งข้อมูลกันใช้ได้ระหว่างผู้ใช้หลาย ๆ คน รวมทั้งการใช้ข้อมูลเดียวกันในเวลาพร้อม ๆ กันได้อีกด้วย

2) ความถูกต้องสูงสุด (Maximum Integrity : Correctness) ในระบบฐานข้อมูลจะมีความถูกต้องของข้อมูลสูงสุด เพราะว่าฐานข้อมูลมี DBMS คอยตรวจสอบกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขต่าง ๆ (Integrity Rules) ให้ทุกครั้งที่มีการแก้ไขข้อมูลหรือเพิ่มเติมข้อมูลเข้าไปในระบบฐานข้อมูลนั้น โดยกฎเกณฑ์เหล่านี้จะเก็บไว้ในฐานข้อมูลตามแนวคิดของ International Organization for Standard (ISO) แต่ในปัจจุบันมี DBMS บาง product ที่ข้อบังคับเหล่านี้ไม่ได้ผูกติดอยู่กับฐานข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในโปรแกรม การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์เหล่านี้ทำให้ต้องแก้ไขโปรแกรมตามไปด้วยทุกครั้ง ซึ่งไม่สะดวก เช่นเดียวกับระบบแฟ้มข้อมูลเดิมทำให้เกิดความยุ่งยากในการเขียนโปรแกรม แต่ถ้าย้ายการเก็บข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์เหล่านี้มาไว้ที่ฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูลบางชนิดจะมีฟังก์ชั่นพิเศษ (trigger) กับ procedure อยู่บน FORM ปัจจุบันจะมีให้เลือกว่าจะไว้บนจอหรือไว้ในกฎเกณฑ์กลาง ซึ่งจะเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลเรียกว่า stored procedure ซึ่งถูกควบคุมดูแลโดย DBMS สำหรับ DBMS ชั้นดีส่วนใหญ่จะเป็น compile stored procedure เพราะเก็บกฎเกณฑ์เหล่านี้ไว้ที่ stored procedure ไม่ได้เก็บไว้ในโปรแกรมเหมือนระบบแฟ้มข้อมูลเดิม ดังนั้นเมื่อเงื่อนไขเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปก็จะทำการแก้ไขเพียงแห่งเดียว ทำให้ระบบฐานข้อมูลมีความถูกต้องของข้อมูลมากที่สุด และลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนา และบำรุงรักษา

3) มีความเป็นอิสระของข้อมูล (Data Independence)
ถือเป็นคุณลักษณะเด่นของฐานข้อมูลซึ่งไม่มีในระบบไฟล์ธรรมดา เนื่องจากในไฟล์ธรรมดาจะเป็นข้อมูลที่ไม่อิสระ (data dependence) กล่าวคือ ข้อมูลเหล่านี้จะผูกพันอยู่กับวิธีการจัดเก็บและการเรียกใช้ข้อมูลซึ่งในลักษณะการเขียนโปรแกรมเราจำเป็นต้องใส่เทคนิคการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลไว้ในโปรแกรม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมตามไปด้วย ดังนั้น ถ้าหากมีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลทั้งในระดับ logical และ physical ย่อมมีผลกระทบต่อโปรแกรม แต่ถ้าข้อมูลเก็บในลักษณะของฐานข้อมูลแล้วปัญหานี้จะหมดไป เพราะฐานข้อมูลมี DBMS คอยดูแลจัดการให้ ทำให้โปรแกรมเหล่านี้เป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูล

4) มีระบบความปลอดภัยของข้อมูลสูง (High Degree of Data Security)
ฐานข้อมูลจะมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสูง โดย DBMS จะตรวจสอบรหัสผ่าน (login password) เป็นประเด็นแรก หลังจากผ่านเข้าสู่ระบบได้แล้ว DBMS จะตรวจสอบดูว่าผู้ใช้นั้นมีสิทธิใช้ข้อมูลได้มากน้อยเพียงใด เช่น จะอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะ in query หรือ update และสามารถทำได้เฉพาะตารางใดหรือแถวใดหรือคอลัมน์ใด เป็นต้น นอกจากนี้ โครงสร้างข้อมูลระดับล่างยังถูกซ่อนไว้ไม่ให้ผู้ใช้มองเห็นว่าอยู่ตรงไหน DBMS จะไม่ยอมให้โปรแกรมใด ๆ เข้าถึงข้อมูลได้โดยไม่ผ่าน DBMS

5) การควบคุมจะอยู่ที่ส่วนกลาง (Logically Centralized Control)
แนวความคิดนี้จะนำไปสู่ระบบการปฏิบัติงานที่ดี อย่างน้อยสามารถควบคุมความซ้ำซ้อนและความปลอดภัยของข้อมูลได้ นอกจากนี้ในการควบคุมทุกอย่างให้มาอยู่ที่ส่วนกลางจะนำมาสู่ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS) โดยต้องมีการควบคุมดูแลจากศูนย์กลางทั้งการใช้และการสร้างโดยหลักการแล้ว จะไม่ยอมให้โปรแกรมเมอร์สร้างตารางหรือวิวเอง แต่จะให้ผู้บริหารฐานข้อมูลเป็นผู้สร้างให้ เพื่อจะได้ทราบว่าตารางหรือวิวซ้ำหรือไม่ นอกจากนี้ผู้บริหารฐานข้อมูลจะเป็นผู้ให้สิทธิแก่ผู้ใช้วิว ดังนั้น โปรแกรมเมอร์จะต้องติดต่อประสานงานกับผู้บริหารฐานข้อมูลในการจัดทำรายงาน คุณลักษณะนี้จะทำให้มีความคล่องตัวในการใช้งาน ซึ่งเป็นผลมาจากข้อมูลมาอยู่รวมกัน

1.4 ประโยชน์ของระบบฐานข้อมูล

ระบบฐานข้อมูล จะช่วยแก้ปัญหาของระบบแฟ้มข้อมูล และมีประโยชน์ หลายๆ ด้านดังนี้

1.4.1 ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เนื่องจากการนำข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้งานมาจัดเก็บไว้ รวมกันเป็นฐานข้อมูลส่วนกลาง ทำให้แต่ละหน่วยงานที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูล ไม่ต้องจัดเก็บข้อมูลไว้ที่หน่วย งานของตนเองอีก นอกจากลดความสิ้นเปลืองในการจัดเก็บแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดตามมา เนื่องจากความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
1.4.2 แก้ปัญหาความขัดแย้งกันของข้อมูล ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดเนื่องมาจากความซ้ำซ้อนของข้อมูล เมื่อมีข้อมูลที่ซ้ำๆ กันอยู่หลายที่ หากมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในที่หนึ่งแล้ว แต่ไม่ได้แก้ไขข้อมูลในที่ อื่นๆ ตามด้วย ก็จะทำให้ข้อมูลในแต่ละที่เกิดความขัดแย้งกันขึ้น ดังนั้นการจัดเก็บข้อมูลไว้เพียงที่เดียวจึง ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งกันของข้อมูลได้
1.4.3 การบริหารจัดการฐานข้อมูลทำได้ง่าย เนื่องจากมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ที่ส่วนกลาง ทำให้การ จัดการข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น โดยผู้ที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการฐานข้อมูลเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator: DBA)
1.4.4 กำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้ เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลไว้ที่ส่วนกลางที่เดียวดังนั้น DBA จะเป็นผู้กำหนดโครงสร้างในการจัดเก็บข้อมูล ทำให้โครงสร้างของข้อมูลต่างๆ
1.4.5 สามารถใช้งานฐานข้อมูลร่วมกันได้ เนื่องจากโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะ ถูก กำหนดด้วย DBMS และผู้ใช้แต่ละคนจะต้องใช้งานผ่าน DBMS เท่านั้น ดังนั้นจึงสามารถใช้งาน ฐาน ข้อมูลร่วมกันได้โดยไม่ต้องกังวลถึงความแตกต่างของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ นอกจากนี้ข้อมูลอื่นๆ ที่ผู้ใช้ไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้นมา ก็สามารถใช้งานได้ถ้าหากได้รับสิทธิในการใช้งานข้อมูลดังกล่าว
1.4.6 เกิดความเป็นอิสระระหว่างข้อมูลกับโปรแกรม จากปัญหาของระบบแฟ้มข้อมูล ซึ่งการ แก้ไขโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล เช่นการเพิ่มฟิลด์ ซึ่งโปรแกรมที่มีอยู่เดิมไม่จำเป็นต้องนำไปใช้งาน แต่ต้องทำการแก้ไขโปรแกรมเนื่องจากการเขียนโปรแกรมจะยึดติดกับโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล หากใช้งานเป็นระบบฐานข้อมูล จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ เนื่องจากการใช้งานต่างๆ จะต้องใช้งานไว้เพียงที่เดียวจึง ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งกันของข้อมูลได้
1.4.7 กำหนดระบบรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลแต่ละข้อมูลจะมีความ สำคัญไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดสิทธิในการใช้งาน ข้อมูลแต่ละส่วน ซึ่งเป็นหน้าที่ของ ผู้บริหารฐานข้อมูล เป็นผู้กำหนดว่าใครมีสิทธิใช้งานข้อมูลส่วนไหนได้บ้าง

1.5 องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล

1.5.1 Data หมายถึงข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูล รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลด้วย ดังนั้น data ในที่นี้จึงหมายถึง database
1.5.2 Hardware ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลประกอบด้วย secondary storage เช่น disk และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.5.3 Software คือโปรแกรมที่จัดการเกี่ยวกับฐานข้อมูล โดยปกติแล้วจะเรียกว่าระบบจัดการ ฐานข้อมูลหรือ DBMS ส่วนนี้จะทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างข้อมูลกับผู้ใช้ ดังนั้น การเรียกใช้หรือดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลจะต้องผ่าน DBMS
1.5.4 User ได้แก่บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล เช่น ผู้บริหารฐานข้อมูล โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ และผู้ใช้

1.6 บุคคลที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล

1.6.1 ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator หรือ DBA) เป็นบุคคลคนเดียว หรือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและบริหารทรัพยากรฐานข้อมูลขององค์กรให้สามารถดำเนินการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลโดยความร่วมมือช่วยเหลือจากพนักงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งต้องเป็นผู้ที่สามารถติดต่อกับผู้บริหารระดับสูง ผู้ใช้แผนกต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และควรมีความรู้ทั้งหลักการบริหารและด้านเทคนิคของระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS)

หน้าที่ของผู้บริหารฐานข้อมูล แบ่งเป็น 2 ส่วน

– การออกแบบฐานข้อมูลจะต้องทราบวิธีออกแบบและรายละเอียดของระบบงาน ซึ่งที่จริงแล้วในส่วนนี้ควรจะเป็นหน้าที่ของผู้จัดการข้อมูลหรือ DA (Data Administrator) ซึ่งก็คือ SA (System Analysis) โดยผู้ใช้หรือเจ้าของระบบงานเขียนและออกแบบโครงสร้างด้วย ER Model แต่ SA จะออกแบบอัลกอริทึม
– การปฏิบัติงานกับ DBMS จะต้อบทราบเทคโนโลยีของ DBMS ดังนั้น ในส่วนนี้จะเป็นหน้าที่ของ DBA โดย DBA จะต้องทราบวิธีการปฏิบัติงานกับ DBMS ดังนี้

  1. การติดตั้งระบบจัดการฐานข้อมูล (Install DBMS)
  2. การจัดสรรเนื้อที่ในดิสก์ (allocate disk space)
  3. การสร้างโครงสร้างของข้อมูล (create data structure)
  4. การทำข้อมูลสำรองเอง (backup) และการฟื้นสภาพข้อมูล (recovery)
  5. การปรับผลการปฏิบัติงาน (performance tuning)

DBA จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ เช่น นักวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมเมอร์และผู้ใช้
1.6.2 นักวิเคราะห์และออกแบบ (System Analyst) ทำหน้าที่ออกแบบอัลกอริทึม (Algorithm) ของระบบงาน
1.6.3 โปรแกรมเมอร์ (Programmer) เป็นผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์ (Application program) สำหรับใช้กับฐานข้อมูล อาจจะเขียนด้วยภาษาระดับสูง เช่น SQL เป็นต้น
1.6.4 ผู้ใช้ (End User) เจ้าของระบบงานที่ต้องการเรียกใช้ฐานข้อมูล โดยอาจผ่านทางโปรแกรมประยุกต์หรือภาษาเรียกค้น เช่น SQL ผู้ใช้เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม

ถึงแม้ว่าฐานข้อมูลจะมีคุณลักษณะที่ดีดังได้กล่าวมาข้างต้นแต่ก็มีข้อเสียดังนี้

  1. ขนาดของระบบจัดการฐานข้อมูลมักมีขนาดใหญ่และราคาแพง เนื่องจากซอฟต์แวร์ประกอบด้วยฟังก์ชันต่าง ๆ มากมาย จึงต้องการฮาร์ดแวร์เพิ่มขึ้นทั้งหน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำสำรอง
    2. ต้องอาศัยผู้ดูแลที่มีความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยี ระบบการจัดการฐานข้อมูล
    3. ถ้าระบบเสียจะทำให้มีผลต่อผู้ใช้หลายคน
    4. ความเป็นเจ้าของข้อมูลลดลง ข้อมูลจะไม่เป็นของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ

1.7 ตัวอย่างซอฟต์แวร์จัดการระบบฐานข้อมูลในปัจจุบัน

ระบบฐานข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้ คือระบบ ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสามารถในการจัดการฐานข้อมูลครบทุกด้าน และอีกกลุ่มคือระบบฐาน ข้อมูลขนาดไม่ใหญ่มาก ซึ่งมีความสามารถในการจัดการฐานข้อมูลเช่นกัน แต่อาจจะขาดความสามารถ บางอย่างไป ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ระบบฐานข้อมูลต่างๆ มีดังนี้ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลที่เหมาะสำหรับระบบงานใหญ่ เช่น Oracle, Microsoft SQL, MySQL, Sysbase, DB2, Informix, Ingres เป็นต้น

ซอร์ฟแวร์ ระบบฐานข้อมูล

รูปที่ 1.8 ตัวอย่างซอร์ฟแวร์จัดการระบบฐานข้อมูล

สรุปบทเรียน

            ระบบฐานข้อมูล คือการจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นต้องมีไว้ใช้งาน และมีความสัมพันธ์กัน นำมาจัดเก็บไว้ด้วยกัน มีลักษณะคล้ายกับการนำแฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้มมาจัดเก็บอยู่ที่เดียวกัน แต่โครงสร้างในการจัดเก็บ จะแตกต่าง ไปจากระบบแฟ้มข้อมูล ซึ่งจะช่วยปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบแฟ้มข้อมูลได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการกับข้อมูลได้มากขึ้น โดยมีตัวกลางในการจัดการข้อมูลคือ ระบบจัดการฐานข้อมูล ที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า DBMS การใช้งานต่างๆ จะต้องกระทำผ่าน DBMS เท่านั้น

 

อ้างอิง 

ทวีรัตน์  นวลช่วย.  (2557).  ระบบฐานข้อมูล(Database System).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้

จาก:  https://sites.google.com/site/thaidatabase2.  (สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2558).

นวลศรี  เด่นวัฒนา.  (2545).  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลและภาษาที่ใช้กับฐานข้อมูล.

ชลบุรี:  มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภูมิพัฒน์  วนนิพัฒน์พงศ์.  (2557).  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูล.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:                                    https://www.youtube.com/watch?v=2MG-NUybEHs.  (สืบค้นเมื่อ 14 ธันว

0

การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน

การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน

สื่อการสอนคืออะไร

            สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บ และแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาทั้งยังมีเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ

คุณสมบัติของสื่อการสอน 

สื่อการสอนมีคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการ คือ
1. สามารถจัดยึดประสบการณ์กิจกรรมและการกระทำต่าง ๆ ไว้ได้อย่างคงทนถาวร ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ในอดีตหรือปัจจุบัน ทั้งในลักษณะของรูปภาพ เสียง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ
2. สามารถจัดแจงจัดการและปรุงแต่งประสบการณ์ต่าง ๆ ให้ใช้ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเพราะสื่อการสอนบางชนิด สามารถใช้เทคนิคพิเศษเพื่อเอาชนะข้อจำกัดในด้านขนาด ระยะทาง เวลา และความเป็นนามธรรมของประสบการณ์ตามธรรมชาติได้
3. สามารถแจกจ่ายและขยายของข่าวสารออกเป็นหลาย ๆ ฉบับเพื่อเผยแพร่สู่คนจำนวนมาก และสามารถใช้ซ้ำ ๆ ได้หลาย ๆ ครั้ง ทำให้สามารถแก้ปัญหาในด้านการเรียนการสอนต่าง ๆ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนได้เป็นอย่างดี

คุณค่าของสื่อการสอน 
คุณค่าของสื่อการสอน จำแนกได้ 3 ด้าน คือ
   1. คุณค่าด้านวิชาการ
1.1 ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง
1.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่าไม่ใช้สื่อการสอน
1.3 ลักษณะที่เป็นรูปธรรมของสื่อการสอน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสิ่งต่าง ๆ ได้กว้างขวางและเป็นแนวทางให้เข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
1.4 ส่วนเสริมด้านความคิด และการแก้ปัญหา
1.5 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง และจำเรื่องราวได้มากและได้นาน
1.6 สื่อการสอนบางชนิด ช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้ เช่น ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง เป็นต้น
  2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
2.1 ทำให้เกิดความสนใจ และต้องเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
2.2 ทำให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นเพียงอย่างเดียว
2.3 เร้าความสนใจ ทำให้เกิดความพึงพอใจ และยั่วยุให้กระทำกิจกรรมด้วยตนเอง
3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา
3.1 ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น
3.2 ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ
3.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกันครั้งละหลาย ๆ คน
3.4 ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ ขนาด และระยะทาง

ประเภทของสื่อการสอน

ชอร์ส (Shorse. 1960 : 11) ได้จำแนกสื่อการสอนตามแบบเป็นหมวดหมู่ดังนี้

  1. สิ่งพิมพ์ (Printed Materials)

– หนังสืออุเทศก์  หนังสือแบบเรียน  หนังสืออ่านประกอบ  และนิตยสารหรือวารสาร

  1. วัสดุกราฟิก (Graphic Materials)

– แผนภูมิ แผนสถิติ แผนภาพ โปสเตอร์ และการ์ตูน

  1. วัสดุและเครื่องฉาย (Projector materials and Equipment)

– เครื่องฉายภาพนิ่ง    เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว  เครื่องฉายข้ามศีรษะ ฟิล์มสไลด์                                                 ฟิล์มภาพยนตร์    และแผ่นโปร่งใส

  1. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission)

– เครื่องเล่นแผ่นเสียง  เครื่องบันทึกเสียง  เครื่องรับวิทยุ                                                                                            และเครื่องรับโทรทัศน์

(http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/elearning_files/data2.html)

ทฤษฎีและหลักการเลือกสื่อการเรียนการสอนสอน

ปัจจุบันสื่อการสอนมีอยู่หลากหลายรูปแบบหลากหลายประเภท   การเลือกสื่อการสอนมีความสำคัญมากต่อกระบวนการเรียนการสอน อย่างไรก็ตามในการเลือกสื่อการสอนพึงระลึกไว้เสมอว่า “ไม่มีสื่อการสอนอันใดที่ใช้ได้ดีที่สุดในทุกสถานการณ์” ในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อการสอนต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกัน ผู้ใช้สื่อไม่ควรยกเอาความสะดวก ความถนัด หรือความพอใจส่วนตัวเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกสื่อการสอน เพราะอาจเกิดผลเสียต่อกระบวนการเรียนการสอนได้  แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกสื่อการสอนก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีผู้ให้ความสนใจและให้คำแนะนำไว้หลากหลายมุมมอง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

แนวคิดการเลือกสื่อการสอนของโรมิสซอว์สกี้

 ss

  1. Romiszowski (1999) ได้เสนอแนวทางอย่างง่ายในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนไว้ว่า ในการเลือกสื่อการสอนนั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการเลือกสื่อที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณา ปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่

1.วิธีการสอน (Instructional Method) การเลือกวิธีการสอนเป็นปัจจัยแรกที่ควบคุมการเลือกสื่อ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นสิ่งที่จำกัดทางเลือกของการใช้สื่อการสอนในการนำเสนอ เช่น ถ้าเลือกใช้วิธีการสอนแบบอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกันระหว่าง

2.งานการเรียนรู้ (Learning Task) สิ่งที่มีอิทธิพลต่อทางเลือกในการเลือกสื่อการสอนอีกประการหนึ่งคือ งานการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน เพราะสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่จำกัดหรือควบคุมการเลือกวิธีการสอน ตัวอย่างเช่น การฝึกอบรมผู้ตรวจการ หรือทักษะการบริหารงาน

3.ลักษณะของผู้เรียน (Learner Characteristics) ลักษณะพิเศษเฉพาะของผู้เรียนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการเลือกสื่อการสอน ตัวอย่างเช่น การสอนผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้า โดยการใช้หนังสือหรือเอกสารเป็นสื่อการสอน จะเป็นสิ่งที่ยิ่งทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาในกระบวนการเรียนการสอน ผู้เรียนกลุ่มนี้ควรเรียนรู้จากสื่ออื่นๆ ที่ทำการรับรู้และเรียนรู้ได้ง่ายกว่านั้น

4.ข้อจำกัดในทางปฏิบัติ (Practical Constrain) ข้อจำกัดในทางปฏิบัติในที่นี้หมายถึง ข้อจำกัดทั้งทางด้านการจัดการ และทางด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทางเลือกในการเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการสอน เช่น สถานที่ใช้สื่อการสอน สิ่งอำนวยความสะดวก ขนาดพื้นที่ งบประมาณ เป็นต้น

5.ผู้สอนหรือครู (Teacher) สื่อการสอนแต่ละชนิดไม่ว่าจะมีข้อดีอย่างไร แต่อาจไม่ถูกนำไปใช้เพียงเพราะผู้สอนไม่มีทักษะในการใช้สื่อนั้นๆ นอกจากประเด็นในเรื่องทักษะของผู้สอนแล้ว ประเด็นในเรื่องทัศนคติของผู้สอนก็เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อการสอนเช่นกัน

 แนวคิดการเลือกสื่อการสอนของเคมพ์และสเมลไล


rrr

     Jerrold E. Kemp และ Don C. Smelle (1989) เสนอว่า นอกจากงานการเรียนรู้หรือสถานการณ์การเรียนรู้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่กำหนดถึงสื่อที่จะเลือกใช้แล้ว สิ่งสำคัญประการต่อมาในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนคือ คุณลักษณะของสื่อ ซึ่งผู้สอนควรศึกษาคุณลักษณะของสื่อแต่ละชนิดประกอบในการเลือกสื่อการสอนด้วย คุณลักษณะของสื่อ (Media Attributes) หมายถึง ศักยภาพของสื่อในการแสดงออกซึ่งลักษณะต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหว สี และเสียง เป็นต้น

คุณลักษณะของสื่อที่สำคัญ ได้แก่

1.การแสดงแทนด้วยภาพ เช่น ภาพถ่าย ภาพกราฟิก

2.ปัจจัยทางด้านขนาด เช่น การใช้/ไม่ใช้เครื่องฉายเพื่อขยายขนาด

3.ปัจจัยทางด้านสี เช่น สีสันต่างๆ ขาว-ดำ

4.ปัจจัยทางด้านการเคลื่อนไหว เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว

5.ปัจจัยทางด้านภาษา เช่น ข้อความ/ตัวอักษร เสียงพูด

6.ความสัมพันธ์ของภาพและเสียง เช่น ภาพที่มี/ไม่มีเสียงประกอบ

7.ปัจจัยทางด้านการจัดระเบียบข้อมูล กำหนดให้ดูทีละภาพตามลำดับ หรือตามลำดับที่ผู้ชมเลือก

หลักการเลือกสื่อ

1.เลือกสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้  ผู้สอนควรศึกษาถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่หลักสูตรกำหนดไว้ วัตถุประสงค์ในที่นี้หมายถึงวัตถุประสงค์เฉพาะในแต่ละส่วนของเนื้อหาย่อย ไม่ใช่วัตถุประสงค์ในภาพรวมของหลักสูตร

2.เลือกสื่อการสอนที่ตรงกับลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน  เนื้อหาของบทเรียนอาจมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น เป็นข้อความ เป็นแนวคิด เป็นภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว เป็นเสียง เป็นสี ซึ่งการเลือกสื่อการสอนควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา

3.เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน  ลักษณะเฉพาะตัวต่างๆ ของผู้เรียนเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้สื่อการสอน ในการเลือกสื่อการสอนต้องพิจารณาลักษณะต่างๆ ของผู้เรียน เช่น อายุ เพศ ความถนัด ความสนใจ ระดับสติปัญญา วัฒนธรรม และประสบการณ์เดิม ตัวอย่างเช่น การสอนผู้เรียนที่เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาควรใช้เป็นภาพการ์ตูนมีสีสันสดใส

4.เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับจำนวนของผู้เรียน และกิจกรรมการเรียนการสอน  ในการสอนแต่ละครั้งจำนวนของผู้เรียนและกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนสอน ในห้องก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาควบคู่กันในการใช้สื่อการสอน เช่น การสอนผู้เรียนจำนวนมาก จำเป็นต้องใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย ซึ่งสื่อการสอนที่นำมาใช้อาจเป็นเครื่องฉายต่าง ๆ และเครื่องเสียง เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นและได้ยินอย่างทั่วถึง ส่วนการสอนผู้เรียนเป็นรายบุคคล อาจเลือกใช้วิธีการสอนแบบค้นคว้า สื่อการสอนอาจเป็นหนังสือบทเรียนแบบโปรแกรม หรือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น

5.เลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม  สภาพแวดล้อมในที่นี้อาจได้แก่ อาคาร สถานที่ ขนาดพื้นที่ แสง ไฟฟ้า เสียงรบกวน อุปกรณ์อำนวยความสะดวก หรือ บรรยากาศ สิ่งเหล่านี้ควรนำมาประกอบการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอน ตัวอย่างเช่นการสอนผู้เรียนจำนวนมากซึ่งควรจะใช้เครื่องฉายและเครื่องเสียง

6.เลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจ  ควรเลือกใช้สื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจผู้เรียนได้ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องของ เสียง สีสัน รูปทรง ขนาด ตลอดจนการออกแบบและการผลิตด้วยความประณีต สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้สื่อการสอนมีความน่าสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้

7.เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งาน เก็บรักษา และบำรุงรักษาได้สะดวก  ในประเด็นสุดท้ายของการพิจารณา ควรเลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งานได้สะดวก ไม่ยุ่งยาก และหลังใช้งานควรเก็บรักษาได้ง่ายๆ ตลอดจนไม่ต้องใช้วิธีการบำรุงรักษาที่สลับซับซ้อนหรือมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง

หลักการใช้สื่อการสอน

1.เตรียมตัวผู้สอน  เป็นการเตรียมความพร้อมของตัวผู้สอนในการใช้สื่อการสอน โดยการทำความเข้าใจในเนื้อหาที่มีในสื่อ ขั้นตอน และวิธีการใช้สื่อ เป็นต้น

2.เตรียมจัดสภาพแวดล้อม  เช่น สถานที่ ห้องเรียน ห้อง Lab วัสดุอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

3.เตรียมตัวผู้เรียน  เพื่อให้มีความพร้อมที่จะเรียน อาจมีการทดสอบ มีการอธิบายวิธีการใช้สื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆบอกวัตถุประสงค์ แนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดของเนื้อหาในสื่อนั้นๆ เป็นต้น

4.การใช้สื่อให้เหมาะกับขั้นตอนและวิธีการตามที่ได้เตรียมไว้แล้ว และควบคุมการนำเสนอสื่อ เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น

5.การติดตามผล ( Follow Up ) หลังจากการใช้สื่อการสอนแล้ว ควรมีการติดตามผลเพื่อเป็นการทดสอบว่า ผู้เรียนเข้าใจบทเรียน และเรียนรู้ จากสื่อที่นำเสนอไปนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่ เช่น การให้ผู้เรียนตอบคำถาม อภิปราย ทำรายงาน เป็นต้น เพื่อผู้สอนจะได้ทราบจุดบกพร่อง สามารถ นำมาแก้ไขปรับปรุงสำหรับการสอนในครั้งต่อไป

 ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน

  1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียนนั้น สื่อที่ใช้ในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในครั้งก่อน ยังมิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกอย่างแท้จริง และควรเป็นสื่อที่ง่ายต่อการนำเสนอในระยะเวลาอันสั้น เช่น ภาพ บัตรคำ เป็นต้น
  2. ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน เป็นขั้นที่จะให้ความรู้ เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนควรเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหา และวิธีการสอน ต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน การใช้สื่อในขั้นนี้จะต้องเป็นสื่อที่เสนอความรู้อย่างละเอียดถูกต้องและชัดเจนแก่ผู้เรียน เช่น สไลด์ แผนภูมิ วีดีทัศน์ เป็นต้น

3.ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองนำความรู้ที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัดโดยการลงมือฝึกปฏิบัติเองสื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหาให้ผู้เรียนได้ขบคิดโดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อเองมากที่สุด เช่น ภาพ บัตรปัญหา สมุด แบบฝึกหัด เป็นต้น

  1. ขั้นสรุปบทเรียน เป็นการย้ำเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ขั้นสรุปควรใช้เวลาเพียงสั้นๆ สื่อที่สรุปจึงควรครอบคลุมเนื้อหาสำคัญทั้งหมด เช่น แผนภูมิ แผ่นโปร่งใส เป็นต้น
  2. ขั้นประเมินผู้เรียน เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียนไปถูกต้องมากน้อยเพียงใด และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ สื่อในขั้นการประเมินนี้มักจะเป็นคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจมีภาพประกอบด้วยก็ได้

การประเมินผลการใช้สื่อการสอน

  1. ประเมินการวางแผนการใช้สื่อเพื่อดูว่าสิ่งต่างๆ ที่วางไว้สามารถดำเนินไป ตามแผนหรือไม่ หรือเป็นไปเพียงตามหลักการทฤษฎีแต่ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง จึงต้องเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อการแก้ไขปรับปรุงในการวางแผนครั้งต่อไปให้การใช้สื่อการสอนเกิดความสอดคล้องและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการใช้

2.ประเมินกระบวนการการใช้สื่อ เพื่อดูว่าการใช้สื่อในแต่ละขั้นตอนประสบปัญหาหรืออุปสรรคอย่างไรบ้าง มีสาเหตุมาจากอะไรและมีการเตรียมการป้องกันไว้หรือไม่ เช่น ผู้เรียนได้ยินเสียงของสื่ออย่างชัดเจนทั่วถึง

3.ประเมินผลที่ได้จากการใช้สื่อเป็นผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยตรงว่า เมื่อเรียนแล้วผู้เรียนสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่ และผลที่ได้นั้นเป็นไปตามเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์

(https://khanittakuldee.wordpress.com)

แนวคิดการเลือกสื่อการสอนของ Carlton W.H. Erickson

sss

Carlton W.H. Erickson นักวิชาการทางด้านการใช้สื่อ ยังได้กล่าวถึงเกณฑ์การเลือกสื่อการสอนดังนี้

  1. สื่อการสอนมีประโยชน์ต่อหน่วยการสอนและมีกิจกรรมในการแก้ปัญหาหรือให้ประสบการณ์เฉพาะหรือไม่
  2. เนื้อหาวิชาที่จะสื่อความหมายด้วยการใช้สื่อการสอนนี้เป็นประโยชน์และสำคัญแก่นักศึกษาในชุมนุมและสังคมหรือไม่
  3. สื่อการสอนมีความเหมาะสมกับจุดประสงค์ของการสอน หรือเป้าหมายของผู้เรียนหรือไม่
  4. สื่อการสอนช่วยให้มีการตรวจสอบระดับความแตกต่างของจุดประสงค์ของการสอน ในด้านเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติและทักษะการฝึกปฏิบัติหรือไม่
  5. สื่อการสอนช่วยให้นักศึกษาได้คิดตอบสนอง อภิปรายและศึกษาค้นคว้าหรือไม่
  6. สื่อการสอนได้ช่วยแก้ปัญหาในการเรียนเนื้อหา และช่วยเสริมกิจกรรมนักศึกษาหรือไม่
  7. สื่อการสอนช่วยให้การเสนอแนวคิดมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
  8. สื่อการสอนได้ช่วยในการเสนอเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับระดับอุณหภูมิ น้ำหนัก ความลึก ระยะทาง การกระทำกลิ่น เสียง สี ความมีชีวิตและอารมณ์ได้ดีหรือไม่
  9. สื่อการสอนมีความแน่นอนและทันสมัยหรือไม่
  10. สื่อการสอนสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการสอนที่พึงปรารถนาได้หรือไม่
  11. สื่อการสอนช่วยให้แสดงถึงรสนิยมยินดีหรือไม่
  12. สื่อการสอนสามารถใช้ในห้องเรียนธรรมดาได้หรือไม่ ความรู้ในเนื้อหาในสื่อการสอนมีตัวอย่างมากพอหรือไม่

หลักเกณฑ์ของการเลือกสื่อการสอน ของ Carlton W.H. Erickson ทั้ง 13 ประการข้างต้น พอสรุปเป็นหลักสำหรับการพิจารณาเลือกสื่อเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้ดังนี้

  1. รูปแบบของขบวนการเรียนการสอน (Types of Learning)
  2. ระดับของประสิทธิภาพของสื่อ (Degrees of Proficiency)
  3. ประเภทของสื่อ (Types of Media)
  4. ราคาในการผลิต (Production Cost) 5. การเลือกสื่อให้สัมพันธ์กับรูปแบบการเรียน (Learning Type-Media Matches)

(กิดานันท์ มลิทอง, ออนไลน์)

สรุปจากทฤษฎีแนวคิดข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าในการเลือกสื่อการสอน ผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในการเรียนให้แน่นอนก่อน เพื่อใช้วัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่น ๆ ที่ใช้ในการประกอบการพิจารณา เช่น

  1. สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
  2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจและเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุดช่วยให้ผู้เรียน เข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้ดี เป็นลำดับขั้นตอน
  3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
  4.  สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
  5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตสื่อที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
  6.  มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองต้องคุ้มกับเวลาและการลงทุน

นอกจากนี้แล้วการจะเลือกสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความสามารถและทักษะในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

  1. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน
  2. จุดมุ่งหมายในการนำสื่อมาใช้ เช่น   ประกอบหรือร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน   ใช้นำเข้าสู่บทเรียน            ใช้ในการประกอบคำอธิบาย
  3. ต้องเข้าใจลักษณะของเฉพาะของสื่อแต่ละชนิดว่าสามารถเร้าความสนใจ และให้ความหมายต่อประสบการณ์การเรียนรู้แก่นักเรียนได้อย่างไรบ้าง เช่น  หนังสือเรียนและสื่อสิ่งพิมพ์ ใช้เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานและอ้างอิง    ของจริงและของจำลอง
  4. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งของสื่อการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา

(กิดานันท์ มลิทอง, ออนไลน์)

โดยมีหลักในการเลือกสื่อการสอนเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด จำเป็นจะต้องมีจุดประสงค์ในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

หลักการเลือกสื่อการสอน

  1. สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
  2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้ดี เป็นลำดับขั้นตอน
  3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
  4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
  5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจน และเป็นจริง
  6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลา และการลงทุน

หลักการใช้สื่อการสอน

  1. เตรียมตัวผู้สอน เป็นการเตรียมความพร้อมของตัวผู้สอนในการใช้สื่อการสอน โดยการทำความเข้าใจในเนื้อหาที่มีในสื่อ ขั้นตอน และวิธีการใช้สื่อ เป็นต้น
  2. เตรียมจัดสภาพแวดล้อม เช่น สถานที่ ห้องเรียน ห้อง Lab วัสดุอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
  3. เตรียมตัวผู้เรียน เพื่อให้มีความพร้อมที่จะเรียน อาจมีการทดสอบ มีการอธิบายวิธีการใช้สื่อ อุปกรณ์  เครื่องมือต่างๆบอกวัตถุประสงค์ แนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดของเนื้อหาในสื่อนั้นๆ เป็นต้น
  4. การใช้สื่อให้เหมาะกับขั้นตอนและวิธีการ ตามที่ได้เตรียมไว้แล้ว และควบคุมการนำเสนอสื่อ เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น
  5. การติดตามผล ( Follow Up ) หลังจากการใช้สื่อการสอนแล้ว ควรมีการติดตามผลเพื่อเป็นการทดสอบว่า ผู้เรียนเข้าใจบทเรียน และเรียนรู้ จากสื่อที่นำเสนอไปนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่ เช่น การให้ผู้เรียนตอบคำถาม อภิปราย ทำรายงาน เป็นต้น  เพื่อผู้สอนจะได้ทราบจุดบกพร่อง สามารถ นำมาแก้ไขปรับปรุงสำหรับการสอนในครั้งต่อไป

ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน

การใช้สื่อการสอนนั้นอาจจะใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการสอน หรือจะใช้ทุกขั้นตอนก็ได้ ดังนี้

  1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียนนั้น  สื่อที่ใช้ในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆ หรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในครั้งก่อน  ยังมิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกอย่างแท้จริง และควรเป็นสื่อที่ง่ายต่อการนำเสนอในระยะเวลาอันสั้น เช่น ภาพ บัตรคำ เป็นต้น
  2. ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน  เป็นขั้นที่จะให้ความรู้ เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนควรเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหา และวิธีการสอน ต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน การใช้สื่อในขั้นนี้ จะต้องเป็นสื่อที่เสนอความรู้อย่างละเอียดถูกต้องและชัดเจนแก่ผู้เรียน เช่น สไลด์  แผนภูมิ วีดิทัศน์ เป็นต้น
  3. ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ  เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่  ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองนำความรู้ที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัด โดยการลงมือ   ฝึกปฏิบัติเอง สื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหาให้ผู้เรียนได้ขบคิด โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อเองมากที่สุด เช่น ภาพ บัตรปัญหา สมุดแบบฝึกหัด เป็นต้น
  4. ขั้นสรุปบทเรียน  เป็นการย้ำเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ  ที่ถูกต้อง  และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ขั้นสรุปควรใช้เวลาเพียงสั้นๆ สื่อที่สรุปจึงควร  ครอบคลุมเนื้อหาสำคัญทั้งหมด เช่น แผนภูมิ แผ่นโปร่งใส เป็นต้น
  5. ขั้นประเมินผู้เรียน  เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียนไปถูกต้องมากน้อยเพียงใด และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ สื่อในขั้นการประเมินนี้มักจะเป็นคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจมีภาพประกอบด้วยก็ได้

(ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา(CARD)   มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ออนไลน์)

แหล่งที่มา

รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง.  หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก

http://www.st.ac.th/av/media_choose.htm  วันที่สืบค้น 8 ธันวาคม 2558

Khanittakuldee.  ทฤษฎีและหลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน.  [ออนไลน์ ].  เข้าถึงได้จาก

https://khanittakuldee.wordpress.com วันที่สืบค้น 8 ธันวาค 2558

ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา(CARD)   มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หลักการเลือกและใช้สื่อการสอน.

[ออนไลน์].  เข้าถึงได้จากhttp://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503780/Unit04/unit04_006.htm                                                        วันที่สืบค้น 8 ธันวาคม 2558

สื่อการสอน. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/elearning_files/data2.html.

วันที่สืบค้น 8 ธันวาคม 2558

0

การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน

การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน

วิจัยกับการเรียนการสอน

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง (Teacher-centered) ในอดีตที่ผ่านมานั้นไม่สามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างแท้จริง ในการปฏิรูปการศึกษาจึงได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดเป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-centered, Student-centred หรือ Child-centered) โดยมีหลักการว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องเน้นให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ และพัฒนาความสามารถได้ตามธรรมชาติ เต็มตามศักยภาพของตนเอง รวมทั้งสนับสนุนให้มีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทำงาน มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสังคม ได้เรียนรู้จากหลายๆ สถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน มีการจัดกิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ โดยไม่เน้นไปที่การท่องจำเพียงเนื้อหา ผู้เรียนจึงมีอิสระในการเรียนมากขึ้น อาจกล่าวได้ว่า การศึกษาเปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับ “การเรียน” มากกว่า “การสอน” จากหลักการและแนวคิดดังกล่าว นักการศึกษาจึงได้พัฒนาแนวทางในการจัดกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้เรียน ซึ่งการเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research-based Learning หรือ RBL) ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่มุ่งเน้นทักษะกระบวนการค้นคว้า พัฒนาการคิดวิเคราะห์และบูรณาการเนื้อหาความรู้ อาจารย์ผู้สอนจำนวนมากให้ความสนใจกับวิธีการสอนแบบนี้เนื่องจากสามารถนำไปใช้ได้ทุกรายวิชาในหลายระดับการศึกษา

กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบระเบียบเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้หรือข้อค้นพบใหม่ เป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องหรืออาจกล่าวได้ว่า กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งสอดคล้องกับหลักการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในหมวด 4 มาตรา 24 (5) ว่า “ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้” (สำนักงานปฏิรูปการศึกษา, 2545) ผลจากพระราชบัญญัติการศึกษานี้ทำให้ผู้สอนนำกระบวนการวิจัยมาผสมผสานหรือบูรณาการใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สามารถใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวน การเรียนรู้มากขึ้น สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม  ระยะที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) ที่มุ่งเน้นให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่สร้างโอกาสให้คนไทยทุกคนคิดเป็น ทำเป็น มีเหตุผลสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต รู้จักใช้ข้อมูลที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาตนเอง ซึ่งการจะหล่อหลอมให้เกิดคุณลักษณะดังกล่าวได้ ต้องฝึกให้รู้จักใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อถือได้ และกระบวนการที่สร้างความรู้ได้อย่างเป็นระบบระเบียบคือการวิจัย ซึ่งในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาฯ ระยะที่ 9 ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า การวิจัยเป็นแนวทางดำเนินการหนึ่งที่นำไปสู่การสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, 2546) การเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐานถือเป็นการปฏิรูปการศึกษา ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากระบวนการวิจัยไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะกับอาจารย์ผู้สอนเท่านั้นแม้แต่ผู้เรียนก็ต้องเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน ผู้เรียนในยุคปฏิรูปการศึกษาควรมีทักษะกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบและยั่งยืน และสามารถนำเอากระบวนการวิจัยไปพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง เช่น นำไปสร้างโครงงาน ตรวจสอบความรู้ของตนเอง แสวงหาความรู้ใหม่ๆ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น (พิชญ์สินี ชมภูคำ, 2544) 

นิยามของการจัดการศึกษาแบบใช้การวิจัยเป็นฐาน

ปัจจุบันการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานนั้น มีผู้เรียกแตกต่างกันไป เช่น การสอนแบบเน้นการวิจัย การเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย การสอนแบบวิจัย การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน และการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน เป็นต้น

เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์ (2539) ได้ให้ความหมายของการสอนแบบเน้นการวิจัยว่าเป็นการนำแนวคิดการวิจัยมาเป็นพื้นฐานในการเรียนการสอน และผสมผสานวิธีสอนแบบต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง จากตำราเอกสารสื่อต่างๆ คำบอกเล่าของอาจารย์ รวมทั้งจากผลการวิจัยต่างๆ ตลอดจนทำรายงานหรือทำวิจัยได้

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2545) ได้ให้คำนิยามของวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีการวิจัยเป็นฐานไว้ว่า เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (Research for Learning Development) ซึ่งเป็นการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา (2545) อดีตอธิการบดีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ ‘การศึกษาที่มีการวิจัยเป็นฐาน’ ว่าการวิจัยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สามารถสร้างคุณลักษณะหลายอย่างที่การศึกษาต้องการได้ การวิจัยสามารถปรับเปลี่ยนบุคคลให้ตั้งอยู่บนฐานข้อมูลและเหตุผล มีวิจารณญาณ วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และเกิดนวัตกรรมได้ ขั้นตอนของการวิจัยไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงความรู้ การประเมินความเชื่อถือได้ของความรู้ การตีค่า ความอิสระทางความคิดและเป็นตัวของตัวเองย่อมนำมาใช้เป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม (2547) ได้ให้ความ หมายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐานไว้ว่า เป็นการสอนเนื้อหาวิชา เรื่องราว กระบวนการ ทักษะและอื่นๆ โดยใช้รูปแบบการสอนชนิดที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เนื้อหา หรือสิ่งต่างๆ ที่ต้องการสอนนั้น โดยอาศัยพื้นฐานกระบวนการวิจัย

ซึ่งคล้ายคลึงกับความหมายของการสอนที่เน้นกระบวนการวิจัย (Research-based Instruction) ที่ อาชัญญา รัตนอุบล (2547) ได้ให้ความหมายว่า เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สนับสนุนให้นักเรียนใช้การวิจัยเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ในเรื่องที่ตนสนใจ หรือต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้ขอบเขตเนื้อหาที่เรียน โดยมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกการคิดและจัดการหาเหตุผลในการตอบปัญหาตามโจทย์ที่นักเรียนตั้งไว้ โดยการผสมผสานองค์ความรู้แบบสหวิทยาการและศึกษาจากสถานการณ์จริง

นอกจากนี้ อมรวิชช์ นาครทรรพ (2547) ได้ให้ความหมายของการสอนแบบวิจัยไว้ว่าเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าและ ค้นพบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในเรื่องที่ศึกษาด้วยตนเองโดยอาศัยกระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบเป็นเครื่องมือสำคัญ คำอธิบายนี้จึงสอดคล้องกับความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการวิจัยหรือใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้

ทิศนา แขมมณี (2548) ที่ได้นิยามไว้ว่า เป็นการจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ใหม่หรือคำตอบที่เชื่อถือได้โดยใช้กระบวนการสืบสอบในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาวิจัยในการดำเนินการสืบค้น พิสูจน์ทดสอบ เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

จากคำนิยามข้างต้น การจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research-based Learning หรือ RBL) จึงหมายถึง การนำกระบวนการวิจัยหรือผลการวิจัยมาเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้หรือนำเอากระบวนการวิจัยมาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการวิจัยและการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยผู้สอนหรือครูใช้วิธีการสอนที่หลากหลายอันนำไปสู่การสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน

 

 ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบ RBL มีดังนี้ คือ

หลักการที่ 1 แนวคิดพื้นฐาน เปลี่ยนแนวคิดจาก ‘เรียนรู้โดยการฟัง/ตอบให้ถูก’ เป็น ‘การถาม/หาคำตอบเอง’

หลักการที่ 2 เป้าหมาย เปลี่ยนเป้าหมายจาก ‘การเรียนรู้โดยการจำ/ทำ/ใช้’ เป็น ‘การคิด/ค้น/แสวงหา’

หลักการที่ 3 วิธีสอน เปลี่ยนวิธีสอนจาก ‘การเรียนรู้โดยการบรรยาย’ เป็น ‘การให้คำปรึกษา’

หลักการที่ 4 บทบาทผู้สอน เปลี่ยนบทบาทผู้สอนจาก ‘การเป็นผู้ปฏิบัติเอง’ เป็น ‘การจัดการให้ผู้เรียน’ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2547)

รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบใช้การวิจัยเป็นฐาน

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์และทัศนีย์ บุญเติม (2540) ได้เสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานไว้ 4 รูปแบบ ได้แก่

  1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย คือการให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติทำวิจัยในระดับต่างๆ เช่น การทำการทดลองในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ การศึกษารายกรณี (Case Study) การทำโครงงาน การทำวิจัยเอกสาร การทำวิจัยฉบับจิ๋ว (Baby Research) การทำวิทยานิพนธ์ เป็นต้น
  2. การสอนโดยให้ผู้เรียนร่วมทำโครงการวิจัยกับอาจารย์หรือเป็นผู้ช่วยในโครงการวิจัย (Under Study Concept) ในกรณีนี้ผู้สอนต้องเตรียมโครงการวิจัยไว้รองรับเพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ทำวิจัย เช่น ร่วมเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล อย่างไรก็ตามวิธีนี้จะมีข้อเสียที่ผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้กระบวนการทำวิจัยครบถ้วนทุกขั้นตอน
  3. การสอนโดยให้ผู้เรียนศึกษางานวิจัย เพื่อเรียนรู้องค์ความรู้ หลักการและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นๆ วิธีการตั้งโจทย์ปัญหา วิธีการแก้ปัญหา ผลการวิจัย และการนำผลการวิจัยไปใช้และศึกษาต่อไป ทำให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการทำวิจัยมากขึ้น
  4. การสอนโดยใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้ว่า ทฤษฎีข้อความรู้ใหม่ๆ ในศาสตร์ของตนในปัจจุบันเป็นอย่างไร นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างศรัทธาต่อผู้สอนรวมทั้งทำให้ผู้สอนไม่เกิดความเบื่อหน่ายที่ต้องสอนเนื้อหาเดิมๆ ทุกปี

ทิศนา แขมมณี (2548) ได้กล่าวถึงแนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการวิจัยว่ากระบวนการวิจัยคือวิธีวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งผลการวิจัย และผลการวิจัยก็คือผลที่ได้มาจากการดำเนินงาน ดังนั้นแนวทางในการใช้การวิจัยในการเรียนการสอนจึงประกอบด้วยการใช้ผลการวิจัยและใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน การจัดการศึกษาแบบ RBL นั้นมีรูปแบบการจัดการศึกษาดังนี้

  1. RBL ที่ใช้ผลการวิจัยเป็นสาระการเรียนการสอน ประกอบด้วย การเรียนรู้ผลการวิจัย/ ใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน การเรียนรู้จากการศึกษางานวิจัย/การสังเคราะห์งานวิจัย
  2. RBL ที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย การเรียนรู้วิชาวิจัย/วิธีทำวิจัย การเรียนรู้จากการทำวิจัย/รายงานเชิงวิจัย การเรียนรู้จากการทำวิจัย/ร่วมทำโครงการวิจัย การเรียนรู้จากการทำวิจัย/วิจัยขนาดเล็ก และการเรียนรู้จากการทำวิจัย/วิทยานิพนธ์

อย่างไรก็ตามพบว่ารูปแบบที่มีผู้นำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนกันอย่างแพร่หลายในสถานศึกษา ต่างๆ ได้แก่ การนำผลการวิจัยมาใช้สนับสนุนเนื้อหาวิชาและการใช้กระบวนการวิจัยเป็น

ประโยชน์จากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน

เนื่องจากการวิจัยเป็นกระบวนการในการแสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริงโดยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน เมื่อนำไปใช้ในระดับมหาวิทยาลัยจึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างอิสระ

ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของปรียนันท์ สิทธิจินดา (2552) ที่กล่าวไว้ว่าการเรียนแบบใช้วิจัยเป็นฐานนี้ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจวิชาที่เรียนมากขึ้น ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชานั้นสูงขึ้น เพราะเป็นการเรียนที่ไม่น่าเบื่อ ไม่จำเจ สนุกสนาน ได้เผยศักยภาพของตนเอง แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ เปลี่ยนมุมมอง/ทัศนะของบุคคลให้คิดเป็น มีคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งแตกต่างจากการเรียนแบบอื่นๆ

อำรุง จันทวานิช (2548, 8-10) ได้สรุปประโยชน์ของการจัดเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน ไว้ดังนี้

  1. ประโยชน์ต่อผู้เรียน โดยผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเกิดทักษะการใช้การวิจัยในการแสวงหาความรู้ เรียนรู้ทฤษฎี แนวคิด หลักการและข้อค้นพบที่มีความหมายมีความเที่ยงตรง รู้จักวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนการแก้ปัญหาหรือการพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูล สรุปผลนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ นอกจากนี้ ผู้เรียนมีโอกาสได้รักการพัฒนาทักษะการคิด (Thinking Skills) ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving and Resolution Skills) ทักษะการบริหารจัดการเวลา (Time Management Skills) ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills) ทักษะประมวลผล (Computer Skills) และทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning Skills)
  2. ประโยชน์ต่อครู ทำให้ครูมีการวางแผนทำงานในหน้าที่ของตนอย่างเป็นระบบ ได้แก่ วางแผนการสอน ออกแบบกิจกรรมโดยให้ผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ประเมินผลการทำงานเป็นระยะโดยมีเป้าหมายชัดเจนว่าจะทำอะไรเมื่อไร เพราะอะไร และทำให้ทราบผลการกระทำว่าบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร
  3. ประโยชน์ต่อวงการการศึกษา ซึ่งผลของการจัดเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐานสามารถนำมาเป็นข้อมูลในการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ของครู เกี่ยวกับวิธีการจัดการการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนที่ครูแต่ละคน ซึ่งครูแต่ละคนสามารถจะประยุกต์และนำไปใช้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง

การเรียนแบบนี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง สรุปได้ดังนี้คือ

– เปลี่ยนรูปแบบจาก Teaching-Based เป็น Learning-Based

– เปลี่ยนลักษณะการเรียนจาก Passive เป็น Active

– เปลี่ยนจากวิชาเป็นปัญญา

– นักศึกษาได้เรียนรู้ (Learning) มากกว่าการรู้ (Knowing)

– ได้เปลี่ยนแปลงตัวนักศึกษาโดยใช้งานวิจัยเป็นวิถีของการเรียนรู้

สรุปได้ว่าการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานช่วยให้ผู้เรียนได้รู้จักวิธีการแสวงหาความรู้ จนกระทั่งสามารถนำไปใช้ในการค้นคว้าหาความรู้ที่มีอยู่รอบตัวและเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หรือเรียกว่าเป็นการศึกษาตลอดชีวิต ผู้เรียนจึงต้องเรียนรู้ที่จะแสวงหาความรู้ได้ด้วยวิธีการของตนเอง การเรียนรู้ที่ตัวเนื้อหาแต่อย่างเดียวจึงไม่ใช่เป้าหมายสำคัญของการเรียนการสอนในยุคปฏิรูปการศึกษาอีกต่อไป

ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการนำผลการวิจัยมาพัฒนาความรู้ของผู้เรียนนั้นสามารถนำมาใช้ได้ในทุกรายวิชา ยกตัวอย่างเช่น ผู้เขียนได้จัดกิจกรรมการศึกษาแบบใช้วิจัยเป็นฐานโดยใช้ผลการวิจัยเป็นสาระการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาอังกฤษ 211 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระของการใช้กลยุทธ์ในการอ่านภาษาอังกฤษจากผลงานวิจัย ซึ่งผู้เขียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้คือ

(1) ผู้สอนรวบรวมบทคัดย่อ ผลงานวิจัยเกี่ยวกับกลยุทธ์ต่างๆ ที่ใช้ในการอ่านภาษาอังกฤษ โดยผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจใฝ่รู้ เกิดข้อสงสัย อยากรู้ อยากแสวงหาคำตอบของข้อสงสัย อีกทั้งแนะนำวิธีการอ่านผลงานวิจัย

(2) ผู้สอนให้ผู้เรียนค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ทางการอ่านเพิ่มเติม โดยผู้สอนได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูล และงานวิจัยที่ผู้เรียนจะต้องสืบค้นเพื่อการศึกษาหาความรู้

(3) ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนศึกษารายงานวิจัยต่างๆ และสรุปความรู้เพื่อนำมาอภิปรายร่วมกัน โดยเน้นการนำเสนอสาระของงานวิจัยอย่างเชื่อมโยงกับสาระที่กำลังเรียนรู้ เช่น การนำกลยุทธ์การอ่านมาใช้ขณะที่อ่านเพื่อพัฒนาทักษะด้านการสรุปใจความสำคัญ หรือพัฒนาทักษะการอ่านเร็ว เป็นต้น

หลังจากนั้นมอบหมายให้ผู้เรียนทำการประเมินใน 2 ประเด็นดังนี้คือ

(1) ประเมินการแสวงหาแหล่งความรู้ต่างๆ

(2) ประเมินการเรียนรู้ของตนเองเกี่ยวกับผลการวิจัย

 

ตัวอย่างงานวิจัยที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย

การจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้นั้นสามารถนำมาใช้ในรายวิชาภาษาอังกฤษได้ ยกตัวอย่างเช่น รศ.ดร.พวงเพ็ญ อินทรประวัติ ได้บูรณาการการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-based Method) ควบคู่กับการวิเคราะห์เนื้อหา (Genre Analysis) และกระบวนการเขียน (Writing Process) เพื่อสอนเขียนเรียงความเชิงอภิปรายโวหารในรายวิชาภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรี โดยผู้สอนมีความคาดหวัง 2 ด้าน คือด้านเนื้อหาและด้านการใช้ภาษาอังกฤษ

  1. ในด้านเนื้อหา ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้วิธีการเขียนที่สามารถชักจูงผู้อ่านให้คล้อยตามความคิดเห็นของตน หรือกระทำกิจกรรมบางอย่างตามข้อเสนอแนะของตนโดยจะต้องเลือกปัญหาตามหัวข้อเรื่องที่ตนเองสนใจ วิเคราะห์ผู้อ่านเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อ่านต้องการทราบ หาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบและจำแนกประเภท นำเสนอข้อมูลโดยการเขียนเรียงความเป็นภาษาอังกฤษ
  2. ในด้านการใช้ภาษาอังกฤษ มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการเขียนเรียงความเชิงอภิปรายโวหารเป็นภาษาอังกฤษ โดยที่ 1) ต้องวิเคราะห์และเขียนเรียบเรียงข้อความตามรูปแบบการเขียนเรียงความชนิดนี้ได้ ซึ่งผู้สอนได้นำเอาหลักการวิเคราะห์เนื้อหาตามหน้าที่มาใช้ โดยให้ผู้เรียนพิจารณาข้อความที่ทำหน้าที่ต่างๆ กันในย่อหน้า เช่น ระบุใจความสำคัญ ยกตัวอย่าง ให้คำจำกัดความ เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นต้น ให้จำแนกข้อความที่ทำหน้าที่ต่างๆ กันนี้และให้ฝึกเขียนข้อความดังกล่าวในเรียงความของตน และ 2) เขียนประโยคชนิดต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษได้ถูกต้องตามกฎไวยากรณ์ผลการศึกษาพบว่า ผู้เรียนมีความสนใจใฝ่รู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยที่สามารถนำเอากระบวนการค้นหาความรู้ที่ใช้กระบวนการวิจัยไปใช้ได้ครบถ้วนในทุกขั้นตอนของการเขียนเรียงความเชิงอภิปรายโวหาร ผู้เรียนสามารถพัฒนาวิธีการเรียนรู้และกระบวนการคิดของตนเอง ซึ่งสังเกตเห็นจากการตั้งข้อสงสัยการถามระหว่างเรียนและการทำกิจกรรมการเรียนรวมทั้งการให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับกระบวนการเรียนของตนเองที่ปรากฏในแบบสอบ ถาม หลังการเรียน จะเห็นได้ว่ากิจกรรมที่ผู้เรียนต้องทำดังกล่าวมีลักษณะหลากหลายและใช้กระบวนการคิดและทักษะที่แตกต่างกันออกไป เช่นการแสวงหาหัวข้อเรื่องและเลือกประเด็นปัญหา หลังจากที่ตัดสินใจเลือกประเด็นปัญหาแล้ว ก็ให้ค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษ เช่น เว็บไซต์ หนังสือ วารสาร เป็นต้น นำมาอ่านวิเคราะห์เพื่อเลือกข้อมูลให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้อ่าน จัดเก็บข้อมูลอย่างมีระบบในไฟล์ (file) แล้วเรียบเรียงเขียนขึ้นใหม่ตามความคิดของตน ในการเขียนร่างครั้งที่ 1 นี้เน้นที่เนื้อหาที่ต้องการเขียน ซึ่งถ้อยคำภาษาอาจจะยังไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ทั้งหมด หลังจากนั้นจัดให้มีการอภิปรายกลุ่มย่อยและปรึกษากับอาจารย์ผู้สอนเพื่อปรับเนื้อหาจึงได้เป็นร่างที่ 2 เมื่อเนื้อหาที่ได้เป็นที่พอใจแล้วจึงปรับแก้คำศัพท์และแก้ไขภาษาให้ถูกต้อง จึงได้ร่างสุดท้าย สรุปได้ว่ากระบวนการสอนข้างต้นนี้สามารถนำเสนอรูปแบบได้ดังนี้คือ

ตระหนักถึงประเด็นปัญหา วิเคราะห์ผู้อ่าน แสวงหาความรู้ นำเสนองาน อภิปรายผล ตัดสินใจเลือก  (พวงเพ็ญ อินทรประวัติ, 2548)

อ้างอิง

เสาวภา วิชาดี. การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:      “”””””http://www.radompon.com/weblog/?page_id=293(สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม258)

______. การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:  ………….http://ph.kku.ac.th/thai/images/file/km/rbl-ph.pdf

(สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2538)

ทิศนา แขมมณี .(2553).ศาสตร์การสอน.(พิมพ์ครั้งที่12).กรุงเทพฯ: …………สำนักพิมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

0

การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ Brochure

ss

1.1 ความหมาย บทบาทความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์

1.1.1   ความหมายของคำว่า “สื่อ”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความ หมายของคำนี้ไว้ดังนี้ “สื่อ (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย ชักนำให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน  เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำให้ ชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม” และ นักเทคโนโลยี การศึกษาได้มีการนิยามความหมายของคำว่า “สื่อ” ไว้ดังต่อไปนี้

Heinich และคณะ (1996)  Heinich เป็นศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University) ให้คำจำกัดความคำว่า “media” ไว้ดังนี้   “Media is a channel of communication.” ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ “สื่อ คือช่องทางในการ  ติดต่อสื่อสาร” Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า “media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือ  สารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร”

  1. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) ให้คำจำกัดความคำว่า “media” ไว้ดังนี้ “the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)” ซึ่งสรุปความเป็น ภาษาไทยได้ดังนี้ “ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ ผู้เรียน)”

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สื่อ หมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับ ผู้รับสาร เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนินไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

1.1.2 ความหมายของคำว่า “สิ่งพิมพ์”

          พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542(2546, หน้า 1,191) ได้กล่าวให้ความหมายไว้เช่นเดียวกันกับในพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 (พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484, 2546) กล่าวว่า “สิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใดๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน”

1.1.3   ความหมายของคำว่า “สื่อสิ่งพิมพ์”  มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ ดังนี้

ธีระศักดิ์  ละม่อม (2542, หน้า 49) กล่าวว่า “สื่อสิ่งพิมพ์  หมายถึง สื่อที่เกิดขึ้นจากการ

พิมพ์นั่นเอง ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร แผ่นพับ แผ่นปลิว หรือโปสเตอร์ จุดประสงค์ในการจัดทำนั้นก็เพื่อความรู้หรือบันเทิง”

นลินี  เสาวภาคย์ (2542, หน้า 141) กล่าวว่า “สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง สื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสารทำความเข้าใจกันโดยภาษาเขียน โดยใช้วัสดุกระดาษพิมพ์ออกมาพร้อมกัน เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้อ่านได้คราวละมากๆ สื่อสิ่งพิมพ์นั้นอาจออกมาในรูปต่างๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ นิตยสาร วารสาร จุลสาร หนังสือพิมพ์ ใบปลิว แผ่นพับ หนังสือคู่มือ และโปสเตอร์ เป็นต้น”

สุรัตน์  นุ่มนนท์ (2539, หน้า 6) กล่าวว่า “สื่อสิ่งพิมพ์” หมายถึงสิ่งที่ใช้ในการพิมพ์เป็นหลัก จึงไม่ได้หมายถึงหนังสือพิมพ์และนิตยสารเท่านั้น แต่มีความหมายรวมไปถึงสิ่งพิมพ์ทุกประเภท

ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า “สื่อสิ่งพิมพ์” ประกอบด้วย หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร หนังสือ โปสเตอร์ แผ่นพับ ใบปลิว จดหมายข่าว หนังสือเล่มเล็ก และคู่มือ เป็นต้น ทำให้มองเห็นถึงวัสดุหลักที่ใช้ในการจัดทำคือกระดาษใช้ในการตีพิมพ์นั่นเอง และเราคงปฏิบัติเสธไม่ได้ว่าแนวโน้มในอนาคตที่เป็นมาจากการพัฒนาการทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด จะทำให้เราได้เห็นสื่อสิ่งพิมพ์ถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบของดิจิตอลเพื่อลดภาระปัญหามลภาวะต่างๆ รวมทั้งความสะดวกในการจัดเก็บ นำเสนอ พกพา และการค้นคว้าอย่างรวดเร็ว

1.1.4   บทบาทความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์

สื่อสิ่งพิมพ์มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมมนุษย์เพราะเป็นเครื่องมือและช่องทางที่เปิดโอกาสให้มนุษย์สื่อสารกันได้ในทุกสถานที่และโอกาส อันนำไปสู่การสร้างการเรียนรู้ หล่อหลอมความเข้าใจ สานสัมพันธ์ทางความคิด ก่อให้เกิดพฤติกรรม ซึ่งเป็นสะพานนำไปสู่การสร้างความเชื่อมโยงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม บทบาทที่สำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์ นักวิชาการหลายท่านได้ให้ทัศนะถึงบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ไว้ กล่าวคือ

วิชัย พยัคฆโส 1 (2542, หน้า 1) “สื่อสิ่งพิมพ์มีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศเพราะสื่อสิ่งพิมพ์ได้ เสริมสร้างบทบาทพื้นบานด้านการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองควบคู่กันไป บางครั้งมีผู้กล่าวว่า ความเจริญ ของประเทศใดอาจวัดได้จากปริมาณการบริโภคกระดาษของชนในชาตินั้นเป็นองค์ประกอบหนึ่ง สำหรับประเทศไทย เช่นเดียวกัน บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ได้มีบทบาทสูงยิ่งในการพัฒนาประเทศมาจนปัจจุบันและในอนาคตต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

จันทนา ทองประยูร (2537, หน้า 14) กล่าวว่า “ เมื่อเทคโนโลยีทางการพิมพ์เจริญก้าวหน้าจนถึงขั้นมีการ ประดิษฐ์เครื่องจักรและอุปกรณ์ทางการพิมพ์ที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพิมพ์จำนวนมากในระยะเวลาอันรวดเร็วทำให้สิ่งพิมพ์มีบทบาทมากมายในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตั้งแต่การใช้สื่อสิ่งพิมพ์เป็นแหล่งให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิง เป็นแหล่งข้อมูลที่มนุษย์ใช้ประกอบการตัดสินใจ ฯลฯ สิ่งพิมพ์นอกจากจะมีบทบาทอย่างมากในชีวิติประจำวันระดับบุคคลแล้ว ยังมีบทบาทอย่างมากต่อการพัฒนาบ้านเมือง ต่อความเจริญทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมด้วย ”

           อนันต์ธนา อังกินันท์ (2539, หน้า 260) กล่าวว่า “สื่อสิ่งพิมพ์มีบทบาทอย่างสำคัญในสังคมทั้งทาง ด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ไม่ว่าจะศึกษาจากสื่อสิ่งพิมพ์และการมรอิทธิพลที่ แตกต่างไปจากสื่อมวลชนประเภทอื่นๆ  อาจสรุปบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีต่อสังคมได้ 3  ประการคือ บทบาทในการพัฒนาการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาสังคม”

สุรัตน์ นุ่มนนท์ (2539, หน้า 60) กล่าวว่า “สื่อสิ่งพิมพ์มีส่วนช่วยให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ เปลี่ยนแปลง ไปอย่างมากจากยุคปราศจากสิ่งพิมพ์ สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อนำไปประกอบอาชีพด้วยการเรียนรู้จากหนังสือ อย่างไรก็ตาม แม้สื่อสิ่งพิมพ์จะสามารถสร้างคุณประโยชน์ให้แก่มนุษย์ ได้หลายประการ แต่ก็สามารถชักนำไปในทางที่ผิด ได้จนเป็นการทำลายสังคม แต่โดยคุณประโยชน์ส่วนรวมแล้ว สื่อสิ่งพิมพ์ได้เข้ามามีส่วนช่วยเหลือให้การดำรงชีวิต ของมนุษย์ดีขึ้น รวมทั้งได้ช่วยแนะนำแก้ไขปัญหาสังคมในด้านต่างๆ ”

นันทา วิทวุฒิศักดิ์ (2537, หน้า 208) กล่าวว่า “ สิ่งพิมพ์สามารถช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพและความรู้ ความสามารถ ทำให้แต่ละคนรู้ว่าควรจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะมีชีวิตอยู่อย่างสมบูรณ์และมีความสุข ในด้านสิ่งพิมพ์อื่นๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร และจุล จุลสาร ก็เอื้ออำนวยต่อการศึกษา หนังสือพิมพ์นอกจากให้ความรู่เรื่องราวข่าวสาร ประจำวันแล้ว ยังเป็นเครื่องมือทางการศึกษา และยังเป็นข้ออ้างอิงอีกด้วย วารสารเสนอเหตุการณ์และบทความวิชาการ ที่ทันสมัย ซึ่งให้ประโยชน์ได้เต็มที่แล้ว วารสารเชิงวิชาการยังใช้สำหรับค้นคว้าอ้างอิงเสมือนตำราได้ตลอดไป ทฤษฎีต่างๆ ที่มีผู้คิดขึ้นมามักจะตีพิมพ์ในวารสารก่อนเสมอ สำหรับจุลสารมีประโยชน์ในแง่ของการเสนอเรื่องราวที่เป็นประโยชน์อื่นๆ เฉพาะอย่าง ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การเกษตร การเมือง การปกครอง การพัฒนาตนเอง พัฒนาสังคม และพัฒนาประเทศ

ประโยชน์อีกทางหนึ่งคือเป็นเครื่องมือและช่องทางการสื่อสารที่มีต้นทุนต่ำและคงทน เนื้อหาที่นำเสนอในสื่อสิ่งพิมพ์ยังมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีพ การเรียนรู้ และการพัฒนาการทางความคิด ทัศนคติ  ตลอดจนพฤติกรรมของมนุษย์ในแต่ละสังคมอย่างต่อเนื่องในด้านต่างๆ เช่น

  • เป็นแหล่งข้าวสารข้อมูลอันทรงคุณค่าของผู้รับทุกระดับ ที่ถูกรวบรวมไว้ให้แสวงหาอย่างเป็นระบบไว้ในห้องสมุดในองค์กรต่างๆ และที่เผยแพร่ไว้อย่างกว้างขวางและมากมาย
  • เนื้อหาที่นำเสนอในสื่อสิ่งพิมพ์มีลักษณะคงที่ คงทน และถาวร สามารถสร้างเสริมให้ผู้รับสารเกิดความรู้จากการทบทวนโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ สร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ อรรถรสของภาษาในเนื้อหาของสื่อสิ่งพิมพ์ และพัฒนาทักษะการใช้ภาษาได้ดีอีกทางหนึ่งด้วย
  • เป็นสื่อส่งเสริมการอ่าน สร้างทักษะการเรียนรู้ สนับสนุนการศึกษาต่อเนื่อง และให้การศึกษาตามอัธยาศัยแก่ผู้ที่อยู่นอกระบบการศึกษาแบบทางการ
  • เป็นสื่อที่มีความคล่องตัวสูง ราคาถูก ผู้รับข่าวสารสามารถเข้าถึงเนื้อหาจากสื่อสิ่งพิมพ์ได้ง่าย
  • ในเชิงธุรกิจ การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ช่วยกระตุ้นธุรกิจการพิมพ์ และเกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง โดยสร้างพลวัตการเรียนรู้ทางสังคม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ตลอดจนสร้างความเท่าทัน และเข้าถึงภาวะเศรษฐกิจระบบทุนนิยม

ดังนั้นจึงพอจะสรุปได้ถึงวัตถุประสงค์ในการการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ขึ้นมา ก็เพื่อเป็นเครื่องมือทางการสื่อสารเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์แต่ละประเภท

  1. ความเป็นมาสื่อสิ่งพิมพ์

สิ่งพิมพ์ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ความสำคัญยิ่งควบคู่มากับการพัฒนาการของมนุษยชาติ และจัดเป็นสื่อมวลชนประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญมาตลอดนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการถ่ายทอดความรู้วิชาการ และเพื่อการติดต่อ สื่อสารสำหรับมนุษยชาติ ดังคำจำกัดความของพจนี พลสิทธิ์ (2536 : 3) สรุปความเป็นมาและความสำคัญของสิ่งพิมพ์ไว้ว่า

“สิ่งพิมพ์” นับเป็นวัสดุที่แสดงถึงพัฒนา การความเจริญก้าวหน้าทางด้านสติปัญญา ของมนุษย์ ความคิด จินตนาการ เจตคติ ความฝัน ชีวิต วัฒนธรรม สังคม เหตุการณ์ เรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์แต่ละยุคสมัย สามารถเก็บรักษาสืบทอดจาดชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนรุ่นหลัง ความคิดในเรื่องการพิมพ์นี้นอกเหนือจาก เพื่อเป็นเครื่องมือในการบันทึกความคิด จินตนาการ ความรู้ และเหตุการณ์ต่างๆ แล้วยังเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าชนชาติต่าง ๆ ในโลกนี้ล้วนมีความพยายามที่จะพัฒนาความคิดของตนให้เจริญก้าวหน้าทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ความคิดในเรื่องการพิมพ์ที่มีจุดประสงค์เริ่มแรกก็คงเพื่อให้มีการแพร่หลายเรื่องความคิด ความรู้ ไปสู่ชนรุ่นหลัง และเพื่อให้มีหลาย ๆ สาเนาจะได้เก็บรักษาให้คงอยู่ได้นานปีนั้น ในยุคปัจจุบันชนรุ่นหลังได้สานต่อความคิดเรื่องการพิมพ์จนกระทั่งกลายเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและซับซ้อน สามารถผลิตสิ่งพิมพ์ได้หลากหลายชนิดตอบสนองวัตถุประสงค์ของมนุษยชาติได้กว้างขวางนอกเหนือจากสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นสื่อมวลชนที่มีความเกี่ยวกันกับมนุษยชาติมานานนับพันๆ ปี และมีความเก่าแก่กว่าสื่อมวลชนประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรืออินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่มีการใช้แพร่หลายไปทั่วโลกเช่นในปัจจุบันก็ตาม แต่สื่อสิ่งพิมพ์ก็ยังเป็นสื่อที่มีการใช้อย่างแพร่หลายเป็นที่นิยมของทุกชนชาติมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทใดก็ตาม เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร วารสาร หรือสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ สาเหตุสำคัญที่ทาให้สื่อสิ่งพิมพ์ยังเป็นที่นิยมแพร่หลายมาโดยตลอด ก็เพราะบุคคลสามารถเลือกอ่านได้ตามความเหมาะสม อีกทั้งยังใช้เป็นเอกสารอ้างอิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มแต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางศาสนา คริสต์ขึ้น และหลังจากนั้นหมอบรัดเลย์เข้ามาเมืองไทย และได้เริ่มด้านงานพิมพ์จนสนใจเป็นธุรกิจด้านการพิมพ์ในเมืองไทย

พ.ศ.2382 ได้พิมพ์เอกสารทางราชการเป็นชิ้นแรก คือ หมายประกาศห้ามสูบฝิ่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้างพิมพ์จำนวน 9,000 ฉบับ

ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ก.ค.2387 ได้ออกหนังสือฉบับแรกขึ้น คือ บางกอกรีคอร์ดเดอร์ (Bangkok Recorder) เป็นจดหมายเหตุอย่างสั้น ออกเดือนละ 2 ฉบับ

15 มิ.ย. พ.ศ.2404 ได้พิมพ์หนังสือเล่มออกจำหน่ายโดยซื้อลิขสิทธิ์จาก หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัยและได้เริ่มต้นการซื้อขาย ลิขสิทธิ์จำหน่ายในเมืองไทย หมอบรัดเลย์ได้ถึงแก่กรรมในเมืองไทยกิจการ การพิมพ์ของไทยจึงเริ่มต้นเป็นของไทย

พ.ศ.2500 ประเทศไทยจึงนำเครื่องพิมพ์แบบโรตารี ออฟเซท (Rotary off Set) มาใช้เป็นครั้งแรก โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชนาเครื่องหล่อเรียงพิมพ์ Monotype มาใช้กับตัวพิมพ์ภาษาไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดโรงพิมพ์ธนบัตรในเมืองไทยขึ้นใช้เอง

  1. สื่อการเรียนการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ Brochure

ความหมายของโบรชัวร์ (Brochure) คือ เอกสารเย็บเล่มหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “โบรชัวร์” นั้นเป็นที่มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า ” Brochure” โดยใช้เรียกทับศัพท์ของ สิ่งพิมพ์ประเภทหนึ่ง ในความหมายที่แท้จริงแล้วคือโบรชัวร์หมายความถึงหนังสือเล่มเล็กที่มีภาพ ข้อมูล สินค้า หรือบริการ ภาพและข้อมูลนั้นอาจจะเป็น ข้อมูลขององค์กร เช่น บริษัท ห้าง ร้าน หน่วยงานราชการต่างๆ เป็นต้น

จุดมุ่งหมายของโบรชัวร์ จึงใช้เป็นสื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการขาย โบรชัวร์ที่ดีมีคุณภาพช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าและบริการขององค์กรมีมากขึ้นทำให้การขายง่ายขื้น ขายดีขึ้น รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลมีความรวดเร็วและน่าสนใจมากยิ่งขึ้นตามมาด้วย

ลักษณะที่สำคัญของโบรชัวร์ หรือเอกสารเย็บเล่ม ก็คือ เป็นสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจที่มุ่งเสนอข่าวสารเป็นการเฉพาะและต้องการ เนื้อหารายละเอียดที่สามารถบรรจุได้มากกว่าแผ่นพับทั่วๆไป รวมทั้งในการจัดทำโบรชัวร์จะมีการเอาใจใส่ในคุณภาพ ทางการพิมพ์มากกว่างานพิมพ์ประเภทจุลสาร

ส่วนรูปแบบโบรชัวร์ มักจะทำเล่มแบบเย็บมุงหลังคา ซึ่งจะต้องมีปกหน้า-หลังด้วยนั่นเอง ปัจจุบันอาจจะมีหลายขนาดและอาจจะไม่เย็บเล่ม แต่เป็นการพับเก็บเล่มก็ได้

ตัวอย่างงานพิมพ์โบรชัวร์ที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น เอกสารโฆษณาสินค้า เอกสารแนะนำองค์กร บริษัท ร้านค้า เป็นต้น

สื่อโบรชัวร์เป็นที่นิยมและเหมาะกับองค์กรที่อยู่เพราะเนื้อที่มีมากนี่เองทำให้การประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการมีได้อย่างไม่อย่างจำกัด และยังค่อนข้างที่จะหลากหลาย โบรชัวร์นั้นเปรียบเสมือน Portfolio (หนังสือแนะนำ) ที่แสดงถึงภาพลักษณ์หน้าตาและรูปแบบของบริษัทนั้นๆ การทำโบรชัวร์ให้ได้ดีซักเล่มจึงต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูล และออกแบบให้ดีเพื่อให้ โบรชัวร์เป็นสื่อกลางในการเสริมสร้าง Brand (รูปลักษณ์ สัญญาลักษณ์) ให้กับบริษัทนั่นเอง ซึ่งโบรชัวร์จะมีจำนวนหน้าที่ค่อนข้างมาก โดยทั่วไปโบว์ชัวร์มักจะจัดทำเป็นเล่ม เล่มหนึ่งประมาณ 8-16 หน้า โบรชัวร์จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทและสินค้าได้อย่างละเอียด

as

az

 

  1. ขั้นตอนการเตรียมงานพิมพ์โบรชัวร์

-กำหนดวัตถุประสงค์ 

ก่อนที่จะจัดทำพิมพ์โบรชัวร์ จำเป็นต้องทราบจุดประสงค์ในการจัดทำ เช่น ทำขึ้นเพื่อแนะนำสินค้าหรือบริษัท  กำหนดหัวข้อที่จะบรรจุลงในโบรชัวร์  กำหนดช่องทางการแจกจ่าย  เช่น แจกหน้าร้าน แจกตามศูนย์การค้าต่าง ๆ หรือส่งทางไปรษณีย์ถึงลูกค้าโดยตรงกำหนดแผนและช่วงเวลาการแจกจ่าย และท้ายสุดตั้งความคาดหวังที่จะได้รับ ความคาดหวังอาจรวมถึงการรับรู้หรือการตอกย้ำความนึกคิดในผลิตภัณฑ์หรือการบริการนั้น ๆ ด้วย

-กำหนดรูปแบบ ขนาด และจำนวนพิมพ์ 

วิธีหนึ่งในการกำหนดรูปแบบก็คือดูตัวอย่างโบรชัวร์ที่มีอยู่ในท้องตลาด โบรชัวร์ตามศูนย์การค้าหรือโบรชัวร์ที่ได้รับทางไปรษณีย์ เลือกรูปแบบที่เหมาะกับงานที่จะทำ สำหรับขนาดให้เลือกดูจากขนาดของโบรชัวร์ ที่ระบุข้างล่างได้เพื่อความประหยัดไม่เสียเศษในการพิมพ์ ส่วนจำนวนพิมพ์ให้ดูจากความต้องการใช้งาน

ในขั้นนี้ควรจัดทำแบบร่างโบรชัวร์คร่าว ๆ ( Layout) เพื่อดูว่าจะเดินเรื่องอย่างไรตลอดทั้งเล่ม มีหัวเรื่องและภาพประกอบอย่างไร ฯลฯ

ออกแบบจัดทำอาร์ตเวิร์ค 

ในปัจจุบันจะใช้ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและจัดทำต้นฉบับ ซอฟแวร์ที่เกี่ยวกับภาพและการตกแต่งภาพ มักใช้ Adobe Photoshop ซอฟแวร์ที่ใช้ในการจัดหน้า มักใช้ Adobe Indesign, Illustrator, Pagemaker ในการจัดทำต้นฉบับโบรชัวร์ ให้คำนึงถึงปกที่ผู้รับจะพบเห็น ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ต้องให้เด่นสะดุดสายตา ปกโบรชัวร์บางเล่มมีการทำไดคัตเป็นรูปให้ดูแปลกตา บางเล่มเคลือบปกด้วยพลาสติกด้านแล้วเคลือบสป็อตยูวีบนภาพที่ต้องการเน้น ฯลฯ ข้อความในหน้าแรกต้องกระชับสื่อถึงสิ่งที่ต้องการให้รับทราบ และเร้าใจให้อ่านรายละเอียดในหน้าต่อ ๆ ไป ในหน้าอื่น ๆ ให้ดำเนินเรื่องราวและภาพอย่างต่อเนื่องจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง การจัดรูปแบบแต่ละหน้าให้มีลักษณะที่เข้ากัน และให้ดูไม่ขัดกันหรือไม่ต่อเนื่องกัน (เช่น จัดระยะขอบเท่ากันทุกหน้า ใช้สีโทนเดียวกัน ใช้ฟ้อนต์เดียวกัน ฯลฯ)หน้าสุดท้ายมักจะเป็นสถานที่ติดต่อหรือจุดที่ให้บริการ

อนึ่งงานพิมพ์โบรชัวร์ที่ดี เริ่มจากต้นฉบับที่ดี ภาพที่คมชัด ใช้ซอฟแวร์ที่ถูกต้อง และที่สำคัญที่สุด การพิมพ์ต้องได้คุณภาพ เมื่อได้โบรชัวร์ที่ดีย่อมมีส่วนช่วยทำให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

 

  1. ข้อมูลในการผลิตงานพิมพ์โบรชัวร์

-รูปแบบและรายละเอียดของงานพิมพ์โบรชัวร์ 

งานพิมพ์โบรชัวร์โดยทั่วไปมีรูปแบบเหมือนหนังสือซึ่งมีความหนาไม่มาก โดยส่วนใหญ่จะพิมพ์ 4 สีทั้งเล่มเพื่อดึงดูดความสนใจและแสดงสินค้า/การบริการได้สมจริง

-ขนาดของงานพิมพ์โบรชัวร์

10.25 ”x 15”, 7.5”x 10.25”, 5”x 7.5”, 3.5”x 5”

8.25 ”x 11.75”(A4), 5.75”x 8.25”(A5), 4.125”x 5.75”(A6)

          สำหรับขนาดอื่น อาจทำให้มีการเสียเศษแผ่นพิมพ์

ขนาดโบชัวร์ ที่เป็นที่นิยมกัน ก็จะเป็นขนาด A1 , A2 , A3 , A4 , A5 , A6 เนื่องจากเป็นขนาดที่ไม่เปลืองกระดาษในการจัดพิมพ์

q

  • โบว์ชัวร์ขนาด A3 พิมพ์ 4 สี 1หรือ 2 หน้า
  • ขนาดสำเร็จ (ซม.) 29.7 x 42.0
  • พิมพ์ออฟเซ็ท 4 สี
  • จำนวนด้านการพิมพ์ 1-2 ด้าน
  • กระดาษอาร์ตมันหรือด้าน 100-160 แกรม

w

  • โบว์ชัวร์ขนาด A4 พิมพ์ 4 สี 1หรือ 2 หน้า
  • ขนาดสำเร็จ (ซม.) 21.0×29.7
  • พิมพ์ออฟเซ็ท 4 สี
  • จำนวนด้านการพิมพ์ 1-2 ด้าน
  • กระดาษอาร์ตมันหรือด้าน 100-160 แกรม

ww

  • โบว์ชัวร์ขนาด A5 พิมพ์ 4 สี 1หรือ 2 หน้า
  • ขนาดสำเร็จ (ซม.) 14.8 x 21.0
  • พิมพ์ออฟเซ็ท 4 สี
  • จำนวนด้านการพิมพ์ 1-2 ด้าน
  • กระดาษอาร์ตมันหรือด้าน 100-160 แกรม

wwww

  • โบว์ชัวร์ ขนาด A4 1 พับ 2 ตอน พิมพ์ 4 สี 2 หน้า
  • ขนาดกางออก A4 (ซม.) 21.0×29.7
  • ขนาดสำเร็จ (ซม.) 14.8 x 21.0
  • พิมพ์ออฟเซ็ท 4 สี
  • จำนวนด้านการพิมพ์ 2 ด้าน
  • จำนวนหน้า 4
  • กระดาษอาร์ตมันหรือด้าน 100-160 แกรม

www

  • โบว์ชัวร์ ขนาด A4 2 พับ 3 ตอน พิมพ์ 4 สี 2 หน้า
  • ขนาดกางออก A4 (ซม.) 21.0×29.7
  • ขนาดสำเร็จ (ซม.) 9.9 x 21.0
  • พิมพ์ออฟเซ็ท 4 สี
  • จำนวนด้านการพิมพ์ 2 ด้าน
  • จำนวนหน้า 4
  • กระดาษอาร์ตมันหรือด้าน 100-160 แกรม

 

ปกพิมพ์โบรชัวร์ 

กระดาษที่ใช้ทำปกงานพิมพ์โบรชัวร์  การพิมพ์งานโบรชัวร์ต้องใช้กระดาษปอนด์ 80 แกรมขึ้นไป หรือกระดาษอาร์ตมัน/ด้าน 90 แกรมขึ้นไป หรือกระดาษอาร์ตการ์ด 190 แกรมขึ้นไป หรือกระดาษแฟนซี (กระดาษที่มีเนื้อและผิวพิเศษ) เพื่อความประหยัด บางครั้งใช้กระดาษเนื้อเดียวกับเนื้อในโบรชัวร์

-การพิมพ์และตกแต่งผิวปกงานพิมพ์โบรชัวร์ 

มีการพิมพ์โบรชัวร์ 1 สี 2 สี 3 สี 4 สี หรือมากกว่า ใช้แม่สี 4 สีหรือสีพิเศษก็ได้  พิมพ์โบรชัวร์หน้าเดียวหรือ สองหน้าแล้วแต่การออกแบบ งานพิมพ์โบรชัวร์สามารถเคลือบ UV เคลือบพลาสติกเงา หรือเคลือบพลาสติกด้าน เคลือบ Spot UV พอปั้มนูน (Embossing) ปั้มทองหรือฟิล์ม/ฟอยล์สีต่างๆ (Hot Stamping) หากต้องมีการเคลือบดังกล่าว ควรใช้กระดาษอาร์ตที่มีความหนาพอประมาณ (ไม่ต่ำกว่า 128 แกรมขึ้นไป) เพื่อให้กระดาษคงรูป ไม่ม้วนตัว

-เนื้อในของงานพิมพ์โบรชัวร์ 

กระดาษที่ใช้ทำเนื้อในงานพิมพ์โบรชัวร์  ในการพิมพ์โบรชัวร์ต้องใช้กระดาษปอนด์ 80 แกรมขึ้นไป หรือกระดาษอาร์ตมัน/ด้าน 90 แกรมขึ้นไป หรือกระดาษถนอมสายตา

-การพิมพ์และตกแต่งผิวเนื้อในงานพิมพ์โบรชัวร์ 

มีการพิมพ์โบรชัวร์ 1 สี 2 สี 3 สี 4 สี หรือมากกว่า ใช้แม่สี 4 สีหรือสีพิเศษก็ได้  อาจมีการตกแต่งผิวเพิ่มเติมเช่นเดียวกับปกของโบรชัวร์

รูปแบบของการเข้าเล่มงานพิมพ์โบรชัวร์ 

เย็บมุงหลังคา หรือไสสันทากาว (ความหนาของเล่มไม่ควรต่ำกว่า 2 ม.ม. หากต้องการไสกาว)

as

 

บรรณานุกรม

ชาญชัย  สัญพึ่ง. (2544). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์. เพชรบูรณ์: โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ คณะ

วิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฎเพชรบูรณ์.

ฉัตรสุดา หลาวรรณะและสิริภรณ์ แก้วมงคล.บทบาทหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ (ออนไลน์). สืบค้นจาก:

http:// http://www.talja.ob.tc/singpim.doc. [12 ธันวาคม 2558].

ธีรภัทร์  เสรีรังสรรค์. (2539). สภาพปัจจุบันและปัญหาการใช้สื่อสิ่งพิมพ์. ในเอกสารการสอนชุดวิชา

       ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พีระ  จิรโสภณ. (2533). ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์. ในเอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อ

       สิ่งพิมพ์หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มนูญ ไชยสมบูรณ์. (มปป.). โบรชัวร์(Brochure). (ออนไลน์). สืบค้นจาก:

https://www.gotoknow.org/posts/225894. [12 ธันวาคม 2558].

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมไทย. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.

สุรัตน์  นุ่มนนท์. (2539). ความหมายและความสำคัญของสิ่งพิมพ์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี:

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรัตน์  นุ่มนนท์. (2530). ประวัติและพัฒนาการของสื่อสิ่งพิมพ์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้

       เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ หน่วยที่ 1-8. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรสิทธิ์  วิทยารัฐ. (2542). การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ

สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา.

_____. (2542). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์. กรุงเทพ: พิศิษฐ์การพิมพ์.

_____. (2539). ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์. ในเอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้น

       เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

______. (2539). อิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์. ในเอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์

       หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

______. (2556). ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์. (ออนไลน์). สืบค้นจาก:http://webcache.

googleusercontent.com. [12 ธันวาคม 2558].

______. (2556). ความเป็นมาของสิ่งพิมพ์. (ออนไลน์). สืบค้นจาก:http://www.pdc.ac.th/ chinawat /CAI51/.  [12 ธันวาคม 2558].

______.(2556). ความรู้เรื่องสีกับสื่อสิ่งพิมพ์. (ออนไลน์). สืบค้นจาก:http://bangkokprint.com/?p=880.

[12 ธันวาคม 2558].

______. (มปป.) ความหมายของโบรชัวร์. (ออนไลน์). สืบค้นจาก:

http://madeaw126.blogspot.com/2011/03/blog-post_30.html. [12 ธันวาคม 2558].

0

บทบาทของครูในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและยุคดิจิตอล

e6dc08a3f47868b19e4a75d1e646a849

บทบาทของครูใน “ยุคไอที”

IT ซึ่งมาจากคำว่า Information Technology หรือที่ภาษาไทยใช้คำว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” คำๆนี้ถูกใช้บ่อยขึ้น เช่นเดียวกับคำว่า “โลกาภิวัฒน์” หรือ “โลกไร้พรมแดน” (Globalization)

ไอที หมายถึง เป็นผลรวมของเทคโนโลยี 2 ประเภท คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้เเก่ ตัวคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำ ชิพ เครื่องพิมพ์ สายสัญญาณ โมเด็ม โปรเเกรม ฯลฯ  และเทคโนโลยีโทรคมนาคม หรือที่เรียกว่าการสื่อสารทางไกล เช่น โทรศัพท์ โทรสาร ไมโครเวฟ สายใยเเก้วนำเเสง ดาวเทียม สื่อสาร เป็นต้น มนุษย์เราได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทั้ง 2 ประเภท ได้อย่างกว้างขวางเเละหลากหลายขึ้น โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นตัวอย่างของการนำไอทีมาใช้งานที่ชัดเจนที่สุด ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และการทำงานของคนเราทำให้เกิดสังคมยุคสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคมในการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวันและการเรียนรู้ ดังเห็นได้จากบริบทของสำนักงานอัตโนมัติ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกลผ่านระบบเครือข่าย การติดต่อสื่อสารทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และการแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ตและเว็บบริบทต่าง ๆ

การศึกษาของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน หรือที่เรียกกันว่า “ยุคไอที” ซึ่งยุคนี้เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ไปอย่างรวดเร็ว ตลอดจนการนำเทคโนโลยีสื่อการสอนที่ทันสมัยมาใช้เป็นจำนวนมาก ซึ่งสอดคล้องกับการดำรงชีวิตในปัจจุบันนี้ต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย เพื่อให้ทันโลกทันเหตุการณ์ ข้อมูลข่าวสารแต่เดิมนั้นจะอยู่ในรูปของเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ก็จะถูกแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อสะดวกในการรับ-ส่ง และประมวลผลข้อมูล   มนุษย์ในยุคนี้จึงดำรงชีวิตอยู่ในสังคมดิจิตอล ผู้ไดไม่เรียนรู้ ไม่ยอมรับที่จะใช้ ก็จะเสียเปรียบผู้อื่นๆ

การศึกษาจำเป็นที่ต้องพัฒนาต่อไปตามยุคสมัย ทำให้ครูยุคปัจจุบันต้อง มีความรู้ ความสามารถ และทักษะ มีคุณธรรมให้ทันต่อความเจริญก้าวหน้าที่เปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่นในปัจจุบัน ในสถานศึกษาแทบทุกแห่ง ครูหรืออาจารย์ได้ให้นักเรียน นักศึกษาส่งรายงานหรือการบ้านผ่านทาง website หรือมีการอัพเดตข้อมูลข่าวสารการศึกษาผ่านทาง social network หรือ  facebook   ซึ่งกำลังได้รับความนิยม และ การเรียนแบบ e-learning หรือการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสามารถทำให้ เกิดการเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน หรือในโรงเรียนเท่านั้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมความสามารถ ในการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตอบสนองคุณลักษณะใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และพัฒนาทักษะการคิด สืบค้นของผู้เรียน การเรียนการสอน E-learning เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนรู้ในโลกยุคปัจจุบันที่ครู ควรได้ศึกษาไว้ถึงแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีความจำเป็นมากนักด้วยเหตุผลหลายๆ ประการแต่ในอนาคตจะมีความสำคัญและจำเป็นมาก การเรียนรู้และศึกษาไว้ก่อน จะทำให้ครูเป็นคนที่ “ไม่ตกยุค” นักเรียนของเราก็ไม่ควรที่จะเป็นคน “ตกยุค” เขาควรที่จะได้รับการจัดการศึกษาในทุกรูปแบบ เพื่อนำไปใช้ในอนาคตข้างหน้าของเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยที่ครูเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนั้น ในสภาวการณ์ปัจจุบัน การพัฒนาเพื่อให้รู้เท่าทันโลกในยุคข้อมูลข่าวสาร เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างสังคม ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ จะเห็นว่านโยบายการศึกษาของแต่ละประเทศโดยเฉพาะประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศมาโดยตลอด ครูที่ดี จำเป็นที่จะต้องมีความตั้งใจพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีคุณภาพ มีความสามารถ เหมาะกับเป็นครูยุคใหม่ หรือยุคไอที

ครูยุคไอที ต้องตามทันกับสิ่งใหม่ๆที่มีมาตลอดไม่เว้นแต่ละวัน การเป็นครูอาจารย์ซึ่งไม่ใช่ว่าเก่งแต่เรื่องการสอนอย่างเดียว แต่ครูต้องมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย เช่นมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จัดให้นักศึกษา คณะครุศาสตร์ ทุกคนเรียน วิชาคอมพิวเตอร์สำหรับครู เป็นการสนองความต้องการของสังคมยุคใหม่

ในยุคปัจจุบันการเรียนรู้ของนักเรียนนั้นเป็นการเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัด ครูจึงมีบทบาทอย่างมากที่จะต้อง เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียน และรวมทั้งเป็นผู้ที่ต้องมีความสามารถคอยชี้แนะ ดูแล และป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้เรียนในเรื่องที่ไม่เหมาะไม่ควร รวมทั้งนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ใหม่ๆที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะการศึกษาหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตของผู้เรียนนั้น มีทั้งข้อมูลที่เป็นความรู้ที่ดี และไม่ดี ครูจึงต้องควบคุมดูแลและคอยชี้แนะ

กระบวนการเรียนการสอนในปัจจุบันจึงมีความจำเป็นอย่างสูงที่จะต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการ ด้วยเหตุว่าข้อมูลข่าวสารที่จะนำเข้ามาสู่ห้องเรียนในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูล เกี่ยวกับสารสนเทศกระบวนการสอนของครูและวิธีการศึกษาของนักเรียนก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยปรับรูปแบบของความรู้ให้เหมาะสมกับกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

เมื่อกล่าวถึงการเรียนในชั้นเรียนแล้ว ทุกคนมักนึกภาพห้องเรียนที่มีคุณครูยืนอยู่หน้าชั้นแล้วบ่นอะไรไปเรื่อยๆ นักเรียนหลังห้องก็หลับบ้าง คุยกันบ้าง มีนักเรียนตั้งใจเรียนกันอยู่หน้าห้องไม่กี่คน ซึ่งบรรยากาศอย่างนี้ไม่ใช่บรรยากาศในการเรียนรู้เลย เมื่อผู้เรียนรู้สึกไม่สนุกกับการเรียน ผู้สอนรู้สึกเบื่อหน่ายกับการสอนได้แต่นับเวลาให้ผ่านไปแต่ละชั่วโมงแล้วจะให้การเรียนบรรลุผลคงเป็นไปไม่ได้

บทบาทของครูในยุคไอทีนั้นจะต้องเป็นผู้สร้างสรรค์และส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้สื่อเพื่อการศึกษาอย่างเป็นกระบวนการ ได้รับความรู้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอย่างแท้จริง โดยผู้เรียนจะต้องมีความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ขององค์ความรู้กับการค้นคว้า เข้าใจและรู้จักเลือกสรรข้อมูลที่มีอยู่อย่างมากมาย นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งในปัจจุบันนานาประเทศต่างให้ความสำคัญของการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นจึงต้องเอาใจใส่ติดตามเป็นประจำ มิฉะนั้นจะกลายเป็นคนล้าหลัง นอกจากนั้นครูต้องส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองทั้งนอกและในโรงเรียน

ครูจึงต้องเน้นในเรื่องการจัดการความรู้ มากกว่าเน้นการจัดการสารสนเทศ เพื่อที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายของการเป็นแหล่งองค์ความรู้และองค์กรในการถ่ายทอดความรู้ สถาบันการศึกษาสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เพื่อบรรลุเป้าหมายได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้เทคโนโลยีเว็บในการเผยแพร่ความรู้ Search Engine ใน การค้นหาข้อมูลที่ต้องการระบบฐานข้อมูลในการเก็บองค์ความรู้ ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนต์ในการถ่ายทอดความรู้ทางไกล ในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษา หลายแห่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนในโครงการต่าง ๆ เช่น eUniversity, eLibrary, eClassroom, eLearning หรือ Itcampus เป็นต้น ฐานข้อมูลสำหรับอ้างอิงที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการเรียนและวิจัย

ดังนั้น บทบาทของครูยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ พอจะสรุปได้ดังนี้

  1. สอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ ครูทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาตนได้เต็มศักยภาพโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือช่วย
  2. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นผู้ช่วย คือ ครูต้องฝึกนิสัยให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ รักการค้นคว้า และการปรับเปลี่ยนความคิดได้ตามเหตุและผล
  3. ครูต้องทำหน้าที่เป็นผู้จัดการสารสนเทศและการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่าง

เหมาะสม

  1. ครูต้องสร้างให้ผู้เรียนรู้อย่างเท่าทัน กับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. ครูต้องสร้างสมรรถนะให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน คือ ความสามารถด้านไอทีที่จำเป็นให้มีความรู้ ทักษะ ความคิด การสื่อสาร เพื่อให้เขาสามารถอยู่ได้ในสภาวะการดำรงชีวิตและการทำงาน ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม
  3. พัฒนาผู้เรียนให้พร้อมที่จะรับบทบาทใหม่ ๆ ในสังคมโลกาภิวัตน์ ให้เตรียมตนเองตลอดเวลา ไม่ใช่ถึงเวลาค่อยมาเตรียมการ
  4. พัฒนาให้ผู้เรียนรุ่นใหม่ เน้น สมรรถนะที่หลากหลาย มากกว่ามีความรู้ ให้ปรับแนวคิดการเรียนรู้ใหม่ ไม่ใช่เรียนเพื่อให้จบหลักสูตร ต้องพัฒนาสู่การเรียนเพื่อสะสมความรู้และประสบการณ์
  5. พัฒนาผู้เรียน สร้างโอกาสการเรียนรู้ด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร ที่มากกว่าภาษาไทย – อังกฤษและให้มีทักษะด้านไอ ที เพื่อให้เขาสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตนเองด้านศักยภาพ

แม้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก แต่การอบรมทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมนั้น ครูจะต้องเป็นผู้อบรมสั่งสอนของควบคู่กันไปกับการเรียนรู้ต่างๆ เป็นการช่วยเตรียมให้นักเรียนมีความพร้อมในการปรับตัวเพื่อการดำรงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสม พัฒนานักเรียนให้มีความรู้ทางด้านไอที ควบคู่กับการมีคุณธรรมจริยธรรมได้แล้วก็จะถือว่า ครูยุคไอทีได้ประสบผลสำเร็จในการพัฒนานักเรียนแล้ว

CDocuments-and-SettingsSPS-YRUDesktopDotMac-1

การเป็นครูในยุคดิจิตอล

ในยุคดิจิตอล เนื้อหา ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ มีมากล้น และได้รับการแทนด้วยดิจิตอล มีอยู่รอบๆตัวเป็น Cloud Knowledge

ผู้เรียนมีขีดความสามารถเข้าถึงเนื้อหา Accesible ได้ง่ายและเร็ว ทำให้มีขีดความสามารถในการมองเห็นเนื้อหา Visibility ได้ประหนึ่งเสมือนจดจำไว้ในสมอง

ครูยุคดิจิตอลจึงไม่เน้นการสอนตามเนื้อหาในหลักสูตร แต่จะเน้นการนำเนื้อหามาประยุกต์ใช้ หรือต่อยอดทางความคิด และต้องจัดการเรียนรู้ทักษะและความรู้ที่จําเป็นให้นักเรียน

ครูยุคดิจิตอล ต้องเน้นให้นักเรียนแสวงหาความรู้ได้เอง ครูจะไม่ใช้วิธี Transfer knowledge แต่จะให้นักเรียน สามารถ Infer Knowledge หรือสังเคราะห์ความรู้ จากข้อมูลข่าวสารที่แสวงหามาได้

ครูยุคดิจิตอลต้องเป็นนักจัดการที่ดี จัดการให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติ (Action Learning) และต้องเปลี่ยนการสอบเป็นการประเมินเพื่อการพัฒนาปรับปรุง

ครูยุคดิจิตอลต้องมีเทคนิคในการทำให้นักเรียนเรียนรู้อย่างสนุก Gamification in learning รู้วิธีการใช้และประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่ เน้นให้ผู้เรียนมีความสุขกับการทำกิจกรรม เพื่อการเรียนรู้ มีแรงจูงใจให้คิด สร้างสรรค์ นำเสนอ ความรู้อย่างสนุกสนาน

มาตรฐานของครูในยุดดิจิตอล ISTE.NETS.T advancing digital age teaching

ครูผู้สอนในยุคนี้ต้องมีมาตรฐาน องค์กรในสหรัฐอเมริกาได้วางมาตรฐานของครูผู้สอนไว้ดังต่อไปนี้

มาตรฐานที่ 1. ครูต้องเป็นผู้แนะนำ ช่วยเหลือ สร้างแรงดลใจในการเรียนรู้ เพื่อสร้างสรรค์งานให้เด็กคุณครูจะต้องใช้ความรู้ที่มีอยู่ในการสอน ในการพัฒนาเรียนรู้ และนำ Technologyมาช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในระดับขั้นที่สูงขึ้น สร้างสรรค์ขึ้น รวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆตามความสามารถในการเรียนรู้ของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นแบบตัวต่อตัวหรือแบบใช้สื่ออื่นๆ

1.ครูต้องมีความสามารถในการสนับสนุน ส่งเสริม สร้างสรรค์ ในการสร้างชิ้นงาน และพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ

2.ครูต้องกระตุ้นให้เด็กสำรวจในหัวข้อที่สำคัญ และ แก้ไขปัญหาโดยใช้เครื่องมือและแหล่งข้อมูลในยุค Digital

3.ครูต้องแสดงให้เห็นถึงผลดีในการทำงานร่วมกันเป็นทีม และต้องพยายามอธิบายให้เด็กๆเข้าใจถึงรูปแบบการคิด การวางแผน และการคิดเชิงสร้างสรรค์

4.ครูผู้สอนต้องกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันให้กับเด็ก เพื่อนในชั้นเรียน รวมถึงบุคคลอื่น โดยการกระตุ้นเด็กแบบใกล้ชิด หรือว่าต้องใช้สถานการณ์จำลองขึ้น

มาตรฐานที่ 2. ครูต้องพัฒนาและออกแบบ กระบวนการการเรียนรู้และการประเมินผล ครูผู้สอนต้องออกแบบและพัฒนา และ การประเมินผล ประสบการณ์การเรียนรู้อย่างตรงไปตรงมาและต้องประเมินผลที่ใช้เครื่องมือหลาก หลายรูปแบบรวมถึงการเพิ่มเนื้อหาในกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาองค์ความรู้ ใหม่ๆ รวมถึงทักษะ เพื่อให้เด็กมีคุณลักษณะตรงกับมาตรฐาน NETS.S

มาตรฐานที่ 3. ครูต้องส่งเสริม ต้นแบบการเป็นพลเมืองทาง Digital รวม ถึงความรับผิดชอบด้วยครูต้องเข้าใจถึงสังคมที่อยู่และสังคมโลกที่ต้องรับผิดชอบต่อวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปทางเทคโนโลยีและต้องแสดงเป็นตัวอย่างที่ดีใน การประพฤติปฏิบัติอย่างเป็นมืออาชีพในเรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์

เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะสนับสนุนให้ครูเกิดความเชี่ยวชาญในการใช้ เทคโนโลยีในการศึกษา  ครูส่วนมากยังใช้คอมพิวเตอร์ไม่เก่งจึงต้องมีคนช่วยเหลือ ไม่ใช่เพียงปัญหาการจัดการระบบซึ่งเกิดปัญหาได้ทุกเมื่อ แต่ยังปัญหาการเลือกซอฟต์แวร์ การออกแบบโครงงานที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และเรียนรู้วิธีแนะนำนักเรียนในการใช้ข้อมูล

เราจะเห็นว่าปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อ ชีวิตมนุษย์เพิ่มขึ้น ดังนั้นครูควรต้องพยายามติดตาม ศึกษา และทำความเข้าใจแนวทางและพัฒนาการที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการ สอนและการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมต่อไปทั้งในปัจจุบันในอนาคตเพื่อให้การสอน ทันสมัยเข้าถึงตัวเด็กได้ง่าย รับรู้ได้ง่าย และเข้าใจได้ง่ายขึ้น

 

 บรรณานุกรม

ชฎาพร จิตศิลป์. ครู “ยุคไอที” . (ออนไลน์).   เข้าถึงได้จาก :

https://www.gotoknow.org/posts/490852. (สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2558).

ชัยยศ  เดชสุระ. เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21 . (ออนไลน์).   เข้าถึงได้จาก :

        http://journal.pim.ac.th/uploads/content/2014/12/o_
1984rdsj8vr8nc715d1ml0vqd1a.pdf
. (สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2558).

โชคชัย  ชยธวัช. (2547) . ครูพันธุ์ใหม่. กรุงเทพฯ : วรรณสาส์น.

ประกอบ  กรณีกิจและคณะ. (2557). รวมบทความเรื่องเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ :

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระสุพิน  สุภโณ.  บทบาทของครูในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ. (ออนไลน์).   เข้าถึงได้จาก  :

https://sites.google.com/site/khruyukhxithi/home/bthbath-khxng-khru-yukh-it. (สืบค้นเมื่อ

วันที่ 12 ธันวาคม 2558).

ยืน ภู่วรวรรณ . บทบาทของครูในยุคดิจิตอล . (ออนไลน์).   เข้าถึงได้จาก :

(สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2558).

 

 

 

0

การออกแบบและพัฒนาการสื่อการเรียนการสอน (Instructional Media Design and Development)

สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media)

30

          สื่อ (Media)  มาจากภาษาละติน แปลว่า “ระหว่าง” และตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “ติดต่อให้ถึงกัน” เมื่อนำสื่อมาประกอบในการจัดการเรียนการสอน เราเรียกว่า “สื่อการเรียนการสอน” หรือ “Instructional Media” หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้และอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ซึ่งหมายรวมถึงสื่อดั้งเดิม ได้แก่ กระดานดำ เทปบันทึกเสียง วิดีโอเทป สไลด์ ของจริง เป็นต้น สื่อใหม่และวิธีการใหม่ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน สื่อประสม สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจำเป็นต้องอาศัย กระบวนการสื่อสารที่มีองค์ประกอบพื้นฐาน ได้แก่ ผู้รับ (ผู้สอน) ตัวกลาง (สื่อ) และผู้รับ (ผู้เรียน) ซึ่งตัวกลางคือ “สื่อการเรียนการสอน”เป็นส่วนสำคัญในการนำส่งข้อมูล ข่าวสาร เนื้อหา องค์ความรู้ต่าง ๆ ไปยังผู้เรียนโดยวิธีการ ใดวิธีการหนึ่งที่เหมาะสม

ปัจจุบันสื่อการเรียนการสอนมีความหลากหลายมากขึ้นและตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของ ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี และไม่ได้มีหน้าที่นำส่งข้อมูล ความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียนเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถสร้าง สภาพการณ์หรือสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนได้อีกด้วย  เนื่องจากความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีส่วนช่วยในการปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลมากขึ้น โดยนำเครื่องมือต่าง ๆ ที่เป็นซอฟท์แวร์และวิธีการสื่อสารมาใช้ร่วมกันโดย เรียกว่า “Collaborative Tools” ทำให้เกิดสื่อใหม่ที่สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกที่ ทุกเวลา (Anytime Anywhere) สื่อการเรียนการสอนในปัจจุบันจึงทำหน้าที่เป็นส่วนสนับสนุน ช่วยเหลือและเป็นตัวแทนผู้สอนในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน ที่สามารถสร้างทักษะทางปัญญา (Cognitive Skill) ทักษะด้านการปฏิบัติ (Psychomotor Skill) และทักษะทางจิตใจ (Affective Skill) ให้แก่ผู้เรียนได้ครบถ้วน

 KM8

สื่อประสม (Multimedia) เป็นสื่อที่เกิดจากกระบวนการนำสื่อประเภทวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ   และเทคนิค วิธีการมาใช้ร่วมกันซึ่งมีทั้งภาพ เสียง ตัวอักษร และลักษณะพิเศษที่สร้างความสนใจให้แก่ผู้เรียนได้มากกว่าสื่อดั้งเดิม หรือสื่อเดี่ยวที่มีการนำเสนอภาพอย่างเดียว เสียงอย่างเดียว หรืออักษรอย่างเดียว     โดยรูปแบบของมัลติมีเดีย ตอบสนองการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การเรียนคนเดียว การเรียนร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก-ใหญ่ หรือการเรียนผ่าน เว็บ เป็นต้น ปัจจุบันสื่อประสมกลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ 2 ลักษณะ คือ

1. มัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอ (Presentation Multimedia)                                                                    มัลติมีเดียลักษณะนี้เน้นสร้างความสนใจ ความตื่นตาตื่นใจ น่าติดตาม โดยนำเสนอหรือถ่ายทอดผ่านตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอได้มากขึ้น ทั้งนี้ยังสามารถ สอดแทรกวิดีโอต่าง ๆ เข้าไว้ในมัลติมีเดียเพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นภาพและเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มัลติมีเดีย เพื่อการนำเสนอเหมาะสำหรับผู้สอนใช้ประกอบการนำเสนอเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ และเหมาะสำหรับ ผู้เรียนในการนำเสนอเนื้อหาที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียนหรือผ่านระบบ อินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้สอนสามารถประเมินผู้เรียนได้ทั้งความสามารถในการสร้างสรรค์ความรู้ (Create content) และ ความสามารถในการนำเสนอเนื้อหา (disseminate information)

2. มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia)                                                             มัลติมีเดียลักษณะนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบและสื่อสารกับสื่อได้โดยตรงผ่านโปรแกรม มัลติมีเดียที่มีสื่อหลายมีมิติ (Hypermedia) ที่เนื้อหาภายในสามารถเชื่อมโยง (Link) ถึงกัน มัลติมีเดียลักษณะนี้ นอกจากผู้เรียนสามารถเรียกดูข้อมูลได้หลากหลายเช่นเดียวกับมัลติมีเดียเพื่อการนำ  เสนอแล้ว ผู้เรียนยังสามารถ สื่อสารโต้ตอบกับบทเรียนผ่านการคลิกเมาส์ แป้นพิมพ์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ      โดยผู้เรียนสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ ได้ว่าต้องการอะไร เช่น ต้องการเรียนบทเรียนเพิ่มเติม หรือต้องการเรียนเนื้อหาบทถัดไป เพียงแค่คลิกที่สัญลักษณ์ หรือข้อความแสดงการเชื่อมโยง โปรแกรมจะแสดงภาพหรือเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้ทันทีทันใด ทั้งนี้ผู้เรียน สามารถวัดความรู้หรือประเมินความสามารถของตนเองจากการเรียนรู้ได้ด้วยการท าแบบทดสอบหรือแบบฝึกต่าง ๆ โดยโปรแกรมสามารถประมวลผลการทำแบบทดสอบให้ผู้เรียนหลังทำแบบทดสอบทันที ทั้งยังสามารถตรวจสอบได้ว่า ตนเองทำผิดข้อใด ซึ่งมัลติมีเดียลักษณะปฏิสัมพันธ์นี้จะช่วยดึงดูดผู้เรียนให้สนใจในเนื้อหา และกระตุ้นการตอบสนอง ของผู้เรียนอยู่ตลอดเวลา สามารถเรียนช้า ๆ ทำแบบฝึกหัดช้า ๆ ได้เท่าที่ต้องการ ทำให้กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ได้

KM8

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-assisted Instruction: CAI) เป็นรูปแบบบทเรียน คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในลักษณะของมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ ซึ่งเดิมใช้นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียน สามารถศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากแผ่น CD-ROM แต่ต่อมามีช่องทางการนำเสนอบทเรียนมัลติมีเดียเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถนำเสนอบทเรียนมัลติมีเดียไปรวมไว้บนหน้าเว็บไซต์ที่อนุญาต ให้ผู้เรียนเข้าถึงข้อมูลได้พร้อมกันทุกที่ ทุกเวลา รวมทั้งอนุญาตให้ผู้เรียนและผู้สอนเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันแบบ ทันทีทันใดผ่านช่องทางสนทนาบนเว็บที่บทเรียนมัลติมีเดียนั้นอาศัยอยู่

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะของวัตถุประสงค์ของการนำ บทเรียน คอมพิวเตอร์ไปใช้ดังนี้

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทสอนเสริม (Tutorial) มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการนำ เสนอ เนื้อหาใหม่หรือเพื่อทบทวนเนื้อหาที่ผู้สอนได้สอนแล้วในห้องเรียน โดยเน้นความรู้ความเข้าใจเนื้อหาซึ่งช่วยเสริมสร้าง ความเข้าใจในมโนทัศน์ (Concept) ที่ได้เรียนมาแล้วในชั้นเรียน หลังจากเรียนรู้เนื้อหาแล้วจะมีแบบทดสอบให้ผู้เรียนได้ฝึกทำ บทเรียนคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มี 2 รูปแบบ คือ

1.1 แบบเส้นตรง (Linear Program) ลักษณะของบทเรียนแบ่งเป็นเฟรม ๆ ตั้งแต่เฟรมแรกจนถึงเฟรม สุดท้ายในเรื่องนั้น ๆ แล้วให้ผู้เรียนตอบคำถามท้ายบทเรียนให้ผ่านก่อนจึงจะสามารถไปเรียนเนื้อหาในบทหรือหน่วย ถัดไป ซึ่งถ้าผู้เรียนทำแบบทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์ต้องกลับไปทบทวนบทเรียนใหม่แล้วกลับมาทำแบบทดสอบอีกครั้งจน ผ่าน จึงสามารถเรียนบทเรียนถัดไปได้

1.2 แบบสาขา (Branching Tutorial) เป็นการเสนอเนื้อหาและบทเรียนหลาย ๆ หัวข้อ  แล้วให้ผู้เรียน เลือกเรียนได้ตามความต้องการ แต่ละบทเรียนมีแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบให้ผู้เรียนทำซึ่งแม้ผู้เรียนจะทำไม่ผ่าน ก็สามารถข้ามไปเรียนบทเรียนอื่นได้ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้สอน) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสาขา เหมาะกับบทเรียนที่มีเนื้อหามาก ๆ และแบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อย่อย ๆ      ตามความเหมาะสม

2. บทเรียนคอมพิวเตอร์ประเภทการฝึกหัด (Drill and Practice) เป็นการออกแบบบทเรียนเพื่อการ ทบทวน ทำแบบฝึกหัดและฝึกทักษะเฉพาะอย่าง เช่น การสะกดคำ การอ่าน และฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น

3. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทจำลองสถานการณ์ (Simulation) เป็นโปรแกรมที่ช่วยจำลอง สถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน เนื่องจากบางครั้งการฝึกและทดลองจริงอาจจะราคาแพงหรือมีความ เสี่ยงที่จะเกิดอันตรายสูง จึงใช้วิธีการจำลองสถานการณ์และสภาพแวดล้อมด้วยคอมพิวเตอร์แทน ซึ่งการจำลอง สถานการณ์แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ

3.1 แบบกฎตายตัว (Determinative) เป็นการจำลองสถานการณ์จากสูตร หรือกฎที่ตายตัว เช่น เรื่อง แรงโน้มถ่วง การไหลของกระแสไฟฟ้า กฎของโอห์ม เป็นต้น

3.2 แบบน่าจะเป็น (Probabilistic) เช่น การฝึกขับเครื่องบิน การทดลองทางเคมี การจราจร การท า โมเดล เป็นต้น

4. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทการแก้ปัญหา (Problem-solving) เป็นการสร้างบทเรียน สำหรับใช้ในการเรียนรู้วิธีคิดแก้ปัญหา เป็นโปรแกรมที่ซับซ้อนมาก ต้องใช้เทคนิคและวิธีการหลาย ๆ อย่างมาใช้ ร่วมกันทั้งรูปแบบเกม การจำลองสถานการณ์และต้องอาศัยนักเขียนโปรแกรมมาช่วยด้านเทคนิค

5. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมการศึกษา (Instructional Games) เป็นบทเรียน ที่มีลักษณะเด่นที่รวมความสนุกสนาน เพลิดเพลินเข้ามาใส่ไว้ในบทเรียน ซึ่งสามารถดึงดูดและกระตุ้นความสนใจผู้เรียน ได้ตลอดเวลา มีความท้าทายทำให้ผู้เรียนมีความพยายามที่จะทำให้สำเร็จเพื่อเอาชนะเกมให้ได้ เน้นการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีการแสดงผลแบบทันทีทันใด (Real-time feedback)

Classifieds_Image1952552125731

หลักการออกแบบและพัฒนาสื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์

การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) เป้าหมายหลักของการจัดการเรียนการสอน คือ การทำสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายและจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในกิจกรรมการเรียนการสอน กระบวนการออกแบบการ เรียนการสอนจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้ซึ่งในการออกแบบการเรียน การสอนมีกุญแจสำคัญ 4 ประการ ได้แก่

1. What to teach (ต้องการสอนอะไร)

2. Who will accomplish (ผู้เรียนคือใคร)

3. How to teach (มีวิธีการหรือกระบวนการเรียนการสอนอย่างไร)

4. How to evaluate (มีวิธีการประเมินผลอย่างไร)

หากสามารถไขกุญแจทั้ง 4 ประการนี้ได้สำเร็จการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนก็จักสำเร็จไปด้วย ทั้งนี้การออกแบบ การเรียนการสอนในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำเป็นต้องกำหนดลำดับขั้นตอนไว้ให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้ผู้สอนเกิด ความสับสนในขณะพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งขั้นตอนที่มักนำมาใช้กันคือ The Events of Instruction ของ Gagne (1992) ประกอบด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนการสอน 9 ขั้นตอนดังนี้

1. การกระตุ้นความสนใจ (Gaining Attention)

2. การแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนทราบ (Informing Learner of Lesson objective)

3. การกระตุ้นให้ระลึกถึงความรู้เดิม (Stimulating Recall of Prerequisite Learning)

4. การนำเสนอสิ่งเร้าหรือเนื้อหาใหม่ (Presenting the Stimulus Materials)

5. การแนะแนวทางการเรียนรู้ (Providing Learning Guide)

6. การกระตุ้นให้แสดงความสามารถ (Eliciting the Performance)

7. การให้ข้อมูลป้อนกลับ (Providing Feedback about Performance Correctness)

8. การประเมินผลการแสดงออก (Assessing the Performance)

9. การส่งเสริมความคงทนและการถ่ายโอนการเรียนรู้ (Enhancing Retention and Transfer)

 

การออกแบบและพัฒนาสื่อมัลติมีเดียโดยใช้ ADDIE Model                                                          ADDIE Model เป็นรูปแบบระบบการเรียนการสอนที่นิยมนำมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียน การสอน เนื่องจากเป็นรูปแบบที่ง่ายและมีขั้นตอนชัดเจนสามารถนำไปใช้ได้กับการออกแบบและพัฒนาสื่อหลาย รูปแบบโดยเฉพาะการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียลักษณะต่าง ๆ                                                   

ขั้นตอนของ ADDIE Model ประกอบด้วย

  1. Analysis (การวิเคราะห์)
  2. Design (การออกแบบ)
  3. Development (การพัฒนา)
  4. Implementation (การนำไปใช้)
  5. Evaluation (การประเมินผล)

การจัดทำคู่มือประกอบการออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1. ชื่อผลงานและชื่อผู้จัดทำ

2. บทนำ หรือความเป็นมาของการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

3. วัตถุประสงค์ของการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

4. ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย

5. การวิเคราะห์ สังเคราะห์งานเพื่อการออกแบบโดยใช้ ADDIE Model (เขียนรายละเอียดการวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างชัดเจนและเป็นขั้นตอน)

6. ทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (ระบุทฤษฎีและรายละเอียดของทฤษฎี)

7. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (เขียนเป็นขั้นตอนและมี Flow chart แสดงขั้นตอนชัดเจน)

8. การนำไปใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ประโยชน์

img_webboard_01

บรรณานุกรม

ณัฐกร สงคราม. 2553. การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย : กรุงเทพฯ.

Gayle Burns and others. 2002. Instruction Design Tips for Online Learning. CSU,

Chico.www.csuchico.edu/celt/roi. December 3, 2014.

Graffinger, D.J. (1998). Basics of Instructional Systems Development. INFO – LINE Issue

  1. Alexandria: American Society for Training and Development.

Patricia. L. Smith and Tillman J. Ragan. Instructional Design. 2nd edition. John Wiley & Sons,

Inc.

Praphaporn Laopiolet. การออกแบบสื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี. (ออนไลน์).

เข้าถึงได้จาก :  https://sites.google.com/site/xxkbaebsuxkarreiynkarsxn/

(สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2558)